Thursday, July 3, 2014

โรคลมชักในเด็ก ลูกรักเป็นหรือไม่




         ลมชักเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติ ของคลื่นไฟฟ้าในสมอง ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกวัย ไม่เว้นเด็กตัวเล็ก ๆ ถ้าลูกมีอาการชักบ่อย ๆ จะจากสาเหตุใดก็ตาม ควรรีบพาไปพบแพทย์ เพื่อตรวจให้แน่ชัดว่าลูกเป็นโรคลมชักหรือไม่ จะได้ทำการรักษาตั้งแต่เล็ก ๆ ค่ะ

อาการชักในเด็กเล็ก

          อาการ ชัก เป็นอาการแสดงของโรคหลาย ๆ ชนิด รวมทั้งโรคลมชักในเด็กโดยเฉพาะเด็กเล็ก สามารถพบอาการชักได้บ่อยกว่าผู้ใหญ่ เพราะสมองของเด็กเล็กยังพัฒนาไม่เต็มที่ ทำให้ปล่อยกระแสไฟฟ้าผิดปกติออกมาในสมอง ส่งผลให้ร่างกายเกิดอาการชัก เกร็งกระตุกขึ้นได้ ในเด็กเล็กส่วนใหญ่อาการชักมักเกิดจากการเจ็บป่วย เช่น เป็นไข้หวัด ปวดบวม หูอักเสบ ท้องเสีย และมีภาวะน้ำตาลหรือเกลือแร่ในเลือดต่ำ

          ซึ่ง เด็กแต่ละคนจะมีความรุนแรงของอาการชักต่างกัน มีทั้งการชักแบบเกร็งกระดูกทั่วร่างกาย และอาการชักเฉพาะอวัยวะบางส่วนของร่างกาย ถ้าหากเป็นอาการชักจากไข้ที่ส่วนใหญ่เด็ก ๆ มักจะเป็นกันนั้นไม่ได้มีผลทำให้สมองพิการ เพราะมีการศึกษาพบว่าเด็กที่เป็นไข้แล้วมีอาการชัก เมื่อโตขึ้นความสามารถด้านสติปัญญาและการเรียนรู้ไม่ได้แตกต่างไปจากเด็กคน อื่น ๆ ถ้าหากได้รับการดูแลที่เหมาะสม แต่หากลูกมีอาการชัก เกร็งนานกว่า 2 นาที ชักโดยไม่มีใช้ หรือชักบ่อยและถี่ขึ้น ควรพาไปปรึกษาคุณหมอ เพราะลูกอาจจะเป็นโรคลมชักได้

โรคลมชัก...เกิดจาก

         
สมองมีความผิดปกติตั้งแต่เกิด หรือผิดปกติระหว่างคลอด เช่น เด็กขาดออกซิเจนตอนคลอด หรือมีความผิดปกติของเนื้อสมอง

         
เกิดจากกรรมพันธุ์

         
โรคหลอดเลือดสมองผิดปกติ ตีบตันหรือแตก

         
เกิดการติดเชื้อในสมอง เช่น ไร้สมองอักเสบ หรือได้รับอุบัติเหตุที่มีผลกระทบต่อสมอง

อาการชักจากโรคลมชัก

          คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตเห็นได้ 2 ลักษณะ คือ

         
อาการชักทั้งตัว เวลาชักจะเกร็งตัวประมาณ 1-2 นาที

         
อาการ ชักเหม่อนิ่ง สังเกตได้ว่าเด็กจะหยุดพูดหรือหยุดเล่นทันที ไม่ตอบสนองต่อการเรียก มีอาการชักไม่เกิน 30 วินาทีแล้วจะหายเอง สามารถกลับมาเล่นและพูดคุยได้ตามปกติค่ะ

ตรวจรักษาโรคลมชัก

          เมื่อ ลูกมีอาการชักแล้วคุณพ่อคุณแม่พาไปตรวจ คุณหมอจะชักถามประวัติการเจ็บป่วยของคนในครอบครัว เพื่อเป็นแนวทางในการวินิจฉัยโรค ในบางครั้ง อาจจำเป็นต้องเจาะน้ำกระดูกไขสันหลัง เพื่อดูการอักเสบในช่องสมองหรือโพรงประสาท นอกจากนี้ ยังมีการตรวจด้วยเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัย โดยใช้วิธีการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG) การถ่ายภาพเอกซเรย์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ (CT) และการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็ก (MRI) เพื่อจะทำให้คุณหมอวินิจฉัยโรคได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

          เมื่อ ตรวจพบว่าลูกเป็นโรคลมชักแล้ว อันดับแรกคุณหมอจะให้กินยากันชัก โดยเลือกชนิดและขนาดของยาให้เหมาะสมกับชนิดของการชัก วัยและน้ำหนักตัวของลูก โดยจะต้องพาลูกมาพบคุณหมอเป็นระยะ ๆ เพื่อปรับขนาดของยาให้เหมาะกับอาการชักของเด็กแต่ละคน ซึ่งเด็กบางคนอาจจะกินยาแค่หนึ่งชนิดหรือมากกว่านั้นก็ได้ และใช้เวลากินยานานประมาณ 2 ปี ก็สามารถหยุดยาได้ แต่ในบางรายก็ต้องกินยาไปตลอดชีวิต ยาจะมีผลข้างเคียงต่อตับและไต ดังนั้น คุณหมอจะเจาะเลือด เพื่อดูการทำงานของตับ ไต ว่ามีความผิดปกติหรือไม่ประกอบด้วย

          นอก จากการกินยาแล้ว เด็กที่เป็นโรคลมชักบางคนอาจจะต้องรักษาด้วยการผ่าตัดสมอง โดยทีมแพทย์จะพิจารณาถึงความปลอดภัย ตลอดจนข้อดีและข้อเสียของการผ่าตัดสมอง เพื่อรักษาโรค และจะมีการพูดคุยกับคุณพ่อคุณแม่ก่อนทำการผ่าตัด ซึ่งการผ่าตัด สมองของเด็กจะปรับตัวได้ดีกว่าสมองของผู้ใหญ่ เพราะสมองเด็กสามารถเปลี่ยนแปลงและปรับตัวได้ตลอด

          สิ่ง ที่สำคัญคือต้องสังเกตว่าลูกมีลักษณะอาการชักอย่างไร อาการชักถี่ขึ้นหรือไม่ เพื่อใช้เป็นแนวทาง ให้คุณหมอได้รักษาอย่างถูกต้องค่ะ


รับมือ...เมื่อลูกชัก

          หาก ลูกมีอาการชัก คุณพ่อคุณแม่ หรือคนที่อยู่ใกล้ชิดควรตั้งสติให้ดี ควรอุ้มลูกให้ห่างจากสิ่งอันตราย เช่น เตาไฟ ของมีคม แล้วจับลูกนอนท่าตะแคง เพื่อป้องกันน้ำลายอุดหลอดลมโดยห้ามสอดสิ่งของเข้าไปในปาก หรือง้างปาก เพราะอาจทำให้ฟันหักแล้วเข้าไปอุดหลอดลมจนเสียชีวิตได้ ถ้าลูกมีอาการชักครั้งแรก ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที

เรื่อง : วรนุช
แหล่งที่มา  รักลูก, http://baby.kapook.com
ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

No comments:

Post a Comment