Thursday, May 17, 2012

เตรียมลูกน้อย ไปโรงเรียนวันแรก



' ขอคุณแม่ไปยืนเข้าแถวกับลูกได้ไหมคะ เขาจะได้ไม่ร้องไห้'

'คุณแม่เข้ามาในห้อง เรียนไม่ได้นะคะ ส่งนัก เรียนแค่หน้าห้องค่ะ'

'ฝากด้วยนะคะคุณครู ถ้าเขาร้องเอาขนมนี่ให้เขา หรือโทร.หาแม่นะคะ'


เหล่า นี้คือสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้น เมื่อเด็กหญิงชายเข้าสู่วัยอนุบาลในวันแรกที่คุณพ่อคุณแม่พาลูกไปโรงเรียน ซึ่งมักจะเห็นภาพหนูๆ ร้องไห้สะอึกสะอื้น กอดผู้ปกครองแน่น ขณะที่พ่อแม่ยืนเฝ้าลูกไม่ไปไหนด้วยความเป็นห่วง ส่วนคุณครูต้องคอยปลอบทั้งคุณลูกและคุณแม่ไปพร้อมกัน

สำหรับ พ่อแม่มือใหม่ที่ลูกเพิ่งเข้าโรงเรียนอนุบาล ความกังวลย่อมมีเป็นธรรมดา พ.ญ. เพียงทิพย์ หังสพฤกษ์ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลมนารมย์ อธิบายว่าการที่เด็กร้องไห้เมื่อไปโรงเรียนวันแรกๆ นั้นถือเป็นพัฒนาการตามปกติของเด็ก เนื่องจากเด็กยังไม่เข้าใจเหตุผลว่าทำไมต้องไปเรียนหนังสือ แม้พ่อแม่จะบอกว่าลูกไปเรียนเถอะจะได้ฉลาด โตขึ้นจะ ได้มีงานทำ แต่เด็กๆ ก็ยังไม่เข้าใจภาพที่ผู้ใหญ่บอก เพราะไม่สามารถจินตนาการถึงภาพอนาคตที่ไกลขนาดนั้นได้ ยิ่งพ่อแม่บางคนขู่ว่าถ้าไม่ไปเรียนไม่มีงานทำ จะต้องไปเป็นขอทาน กลับยิ่งทำให้เด็กกลัวและกังวล มากขึ้น

'พ่อแม่ไม่ควรไปขู่ เด็กว่าถ้าไม่ไปเรียนจะต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เพราะจริงๆ แล้วการที่เด็กร้องไห้เมื่อต้องไปโรงเรียน อาจเป็นเพราะยังไม่เข้าใจว่าการไปโรงเรียนต่างจากการถูกทอดทิ้งอย่างไร

ใน เด็กบางคนอาจจำฝังใจที่พ่อแม่มักขู่ตอนที่ร้องไห้หรือดื้อว่า ถ้าร้องไห้เดี๋ยวแม่ไม่รัก เดี๋ยวแม่ไม่เลี้ยงแล้ว เดี๋ยวส่งไปอยู่โรงเรียนประจำ อยู่กับครู ไม่ต้องกลับบ้าน ดังนั้นพอถึงเวลาที่ต้องไปโรงเรียนจริงๆ ความทรงจำเรื่องที่พ่อแม่ขู่และอาจฝังอยู่ในใจก็ถูกกระตุ้นขึ้นมา ทำให้เข้าใจไปว่านี่คงถึงเวลาแล้วที่พ่อแม่จะทอดทิ้งฉัน'
 
จิตแพทย์ เด็กและวัยรุ่นอธิบายว่า เด็กที่ไปโรงเรียนเป็นครั้งแรกหรือเป็นครั้งที่สอง ครั้งที่สาม และมักจะร้องไห้นั้น อาจจะใช้เวลาปรับตัวพอสมควร โดยเด็กๆ อาจร้องไห้ในช่วง 1-2 สัปดาห์แรก ถือว่าเป็นช่วงปกติของเด็กทั่วไป แต่หากร้องไห้มากกว่า 2-3 สัปดาห์ขึ้นไปอาจจะมีปัญหา ทั้งครู พ่อแม่ ต้องช่วยกันสังเกตและพูดคุยถึงสาเหตุเพื่อหาทางช่วยเหลือ

'หาก ข้อมูลที่คุณครูบอกว่า เมื่อคุณแม่กลับบ้านไปเด็กก็หยุดร้อง ส่วนตอนกลางวันยิ้มแย้มแจ่มใส กินข้าวได้ เล่นกับเพื่อนได้ แบบนี้ก็ไม่ต้องห่วง แต่ถ้าคุณครูบอกว่าเด็กร้องไห้ตลอดวันเลย ไม่ร่วมกิจกรรม ถ้าเป็นอย่างนี้นานเกินสองสัปดาห์ ต้องกลับมาดูว่าลูกเป็นอะไร เขากังวลอะไรไหม ลูกมีอะไรอยากให้ช่วยเหลือหรือไม่ โดยส่วนใหญ่จะพบว่าเด็กถูกพ่อแม่ขู่จึงกลัวและกังวล

เมื่อพบ ปัญหาก็กลับมาแก้ไข ด้วยการสร้างความมั่นใจความอุ่นใจให้เขา โดยก่อนจากกันควรพูดทำนองว่าลูกไม่ต้องกลัว อยู่กับคุณครู มีอะไรก็ไปบอกครูนะจ๊ะ เดี๋ยวเลิกเรียนก็เจอกันแล้ว อาจต้องใช้เวลา ในบางรายอาจนานถึง 1 เดือน ไม่ต้องกังวลมากไป'

และเพื่อช่วย ให้เด็กน้อยไปโรงเรียนอย่างมีความสุขและมั่นใจมากขึ้น พ.ญ.เพียงทิพย์แนะนำว่าพ่อแม่อาจเตรียมพร้อมลูกตั้งแต่เนิ่นๆ ด้วยการฝึกให้ลูกช่วยเหลือตนเองได้บ้าง มีการส่งเสริมพัฒนาการการใช้มือใช้ขาให้แข็งแรง รวมถึงฝึกให้ลูกรู้จักการสังเกต รู้จักใช้ช้อน ฝึกการขับถ่าย ฝึกใส่เสื้อผ้าเอง

'เด็กที่ช่วยเหลือตัวเองได้น้อยพอไป โรงเรียนครูฝึกให้ทำอะไรแล้วทำไม่ได้ แต่เพื่อนทำได้ เด็กจะรู้สึกด้อย ไม่มั่นใจ รู้สึกแตกต่าง หรือรู้สึกถูกทอดทิ้ง ไม่ได้รับการดูแลเหมือนที่บ้าน ก็จะยิ่งไม่อยากไปโรงเรียน

บาง รายพบว่าเหตุผลที่เด็กไม่อยากไปโรง เรียนเพราะติดพี่เลี้ยง เนื่องจากตอนอยู่บ้านพี่เลี้ยงทำให้ทุกอย่าง ดังนั้นพ่อแม่ต้องช่วยเหลือลูกให้ถูกทาง คือช่วยให้เขาช่วยเหลือตัวเองให้ได้ ไม่ใช่ทำให้เขาสบายจนทำอะไรไม่เป็นเลย

ขณะ ที่คุณครูอาจต้องลดความดุลง เพราะการที่เด็กไม่อยากไปโรงเรียนบางครั้งเป็นเพราะกลัวครูดุ หรือมีการขู่เด็กเกิดขึ้น ด้วยความเป็นเด็กเขาอาจไม่สามารถบ่นออกมาเป็นคำพูดได้ จึงสะท้อนออกมาเป็นอาการทางกาย'

จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นบอก ว่า นอกจากการร้องไห้ไม่ไปโรงเรียนแล้ว ความเครียดที่เกิดขึ้นพ่อแม่อาจพบว่าลูกจะมีการเจ็บป่วยทางกาย เช่น ปวดหัว ปวดท้อง ปวดขา ปวดแขน ทั้งๆ ที่ไม่ได้ไปโดนหรือหกล้ม เป็นเพราะเด็กกังวลหรือเครียด ทำให้ฮอร์โมนที่เกี่ยวกับความเครียดหลั่งออกมา

พ่อแม่และ ครูต้องช่วยกันสังเกตดู อย่าด่วนไปตัดสินว่าเด็กแกล้งทำสำออย แต่ควรรับฟัง โดยคุณครูอาจให้เด็กไปนอนพักห้องพยาบาลก่อน เพื่อให้เด็กรู้สึกว่ามีที่ปลอดภัยมาหลบภัย เมื่ออาการดีขึ้นให้กลับไปเรียนเหมือนเดิม

แต่มีบางรายอาจ ไม่มีอาการปวดจริง แต่เกิดการเรียนรู้ว่าถ้าทำแบบนี้จะได้ไม่ต้องไปโรงเรียนหรือคุณครูให้กลับ บ้านได้ ก็ปวดอยู่อย่างนั้นบ่อยๆ คุณครูและพ่อแม่ต้องคอยสังเกต

สำหรับ ในรายที่พบว่า ลูกร้องไห้ไม่หยุด ไม่ยอมไป โรงเรียน และไม่รู้จะหาสาเหตุอย่างไร พ.ญ.เพียงทิพย์แนะนำว่า พ่อแม่อาจปรึกษานักจิตวิทยาและจิตแพทย์ ซึ่งปัจจุบันพ่อแม่รุ่นใหม่ให้ความสำคัญและเข้าใจงานด้านนี้มากขึ้นแล้วว่า เป็นการพัฒนาลูก และหากช่วยเหลือได้ทันจะไม่เพียงทำให้ลูกไปโรงเรียนอย่างมีความสุข แต่ยังมีความมั่นใจด้วย

เพราะหลายรายที่เจอปัญหาตั้งแต่ เริ่มต้นไปโรงเรียน ทำให้โตขึ้นเป็นคนขี้กลัว กังวล กลัวครู กลัวการถูกดุ ถูกขู่ ขี้อาย ขาดความมั่นใจ ไม่เข้าร่วมกิจกรรมการแสดงออก จะเสียโอกาสในการพัฒนาบุคลิกภาพ ความมั่นคงด้านอารมณ์ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญต่อการมีชีวิตที่มีความสุขและประสบความสำเร็จ

การได้รับการช่วยเหลืออย่างถูกทางตั้งแต่เนิ่นๆ จึงป้องกันปัญหาได้ดีที่สุด
แหล่งข้อมูลอ้างอิง  ข่าวสด

No comments:

Post a Comment