เพื่อส่งเสริมศักยภาพทุกด้านของลูก คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสนใจวิธีการส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ เพราะในช่วงขวบปีแรกเป็นช่วงเวลาเด็กจะสามารถพัฒนาทักษะได้ดีที่สุด และวิธีง่ายๆ ที่สามารถทำได้ทุกวันก็คือการอ่านนิทานให้เจ้าตัวน้อยฟัง มาดูเหตุผลดีๆ ที่ควรเล่านิทานให้ลูกฟัง ดังนี้
1. นิทานสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว
ช่วงเวลาดีๆที่พ่อจะเล่านิทานก่อนนอนให้ลูกฟังเวลาสบายๆแห่งความรัก ความอบอุ่นที่จะสร้างความผูกพันและนำไปสู่ความเชื่อมั่นที่จะเสริมสร้าง
ปัญญาของเด็กๆได้เป็นอย่างดี
2. นิทานช่วยปลูกฝังให้เด็กเป็นคนช่างคิด
ช่างถามและช่างสังเกต เป็นโอกาสที่จะทำให้เด็กมีความฉลาด มั่นใจ และ
แสดงความคิดเห็นถูกจังหวะ หรือที่เรียกว่ามีความฉลาดทั้งทางปัญญา (IQ) และฉลาดทางอารมณ์ (EQ)
3. นิทานช่วยให้เด็กเรียนรู้ภาษา
การฟังนิทานจะทำให้เด็กได้รู้จักรูปประโยค การใช้ภาษาความหมายของคำ และเกิดทัศนคติที่ดีต่อการเรียนในอนาคต
4. นิทานทำให้เด็กจับประเด็นและวิเคราะห์ได้ดี
การฟังซ้ำๆ เด็กจะจำเรื่องราวได้ทั้งหมดและเด็กจะรู้จักมองสิ่งที่อยู่รอบตัว เข้าใจเรื่องได้ง่าย
ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่จะจับประเด็นรวมทั้งการย่อความ
5. นิทานช่วยกระตุ้นจินตนาการของเด็ก
น้ำเสียงที่เล่าเรื่องจะกระตุ้นให้เด็กสร้างจินตนาการเป็นภาพการเล่านิทานบ่อยๆ จึงเป็นการสร้างจินตนาการไปพร้อมๆ กับการรับรู้เรื่องใหม่ๆ
ที่ยังไม่เคยรู้มาก่อน
6. นิทานช่วยบ่มเพาะคุณธรรมแก่เด็กเพราะนิทานส่วนใหญ่สอดแทรกคุณธรรม ทักษะชีวิตหรือข้อคิดต่างๆ ที่ทำให้เด็กได้ตระหนักถึงคุณงามความดีและนำไปปรับใช้ในชีวิตเมื่อโตขึ้น
7. นิทานช่วยสร้างสมาธิ
ช่วงเวลาของการเล่านิทาน เด็กมักจะฟังนิทานอย่างตั้งใจหากเลือกเล่านิทานที่เหมาะกับช่วงวัยจะทำให้
เด็กเข้าใจ อยากรู้และติดตามต่อไปว่าจะเกิดอะไรขึ้นถือเป็นการสร้างสมาธิให้กับเด็กได้
เป็นอย่างดี
8. นิทานช่วยสร้างเด็กให้มีความรู้
และความฉลาดทางอารมณ์ หากเด็กชอบฟังนิทานเด็กก็จะปรับตัวและสร้างความสัมพันธ์กับผู้ใหญ่
เพื่อจะได้ฟังนิทานจากผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาและปรับตัวเพื่อให้อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
9. นิทานช่วยสร้างนิสัยรักการอ่าน
การเล่าหรือการอ่านนิทานให้เด็กฟังจะช่วยปลูกฝังนิสัยรักการอ่านเพราะการ อ่านจะทำให้มีสมาธิ
และอ่านหนังสือได้รวดเร็ว
10. นิทานสร้างความรู้สึกไม่ได้กำลังถูกสอนให้กับเด็กเพราะเนื้อหาของนิทานจะมีขั้นตอนในการสร้างความเข้าใจรวมทั้งวิธีการแก้ปัญหาและบทสรุปของเรื่องที่ ให้ข้อคิดต่อเรื่องนั้นๆ
ที่มา
: สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.)
No comments:
Post a Comment