ใกล้ปลายฝนต้นหนาวแล้ว ควรต้องระวังโรคท้องเสียที่เกิดจากเชื้อ ROTA
VIRUS เพราะโรคนี้มักจะออกอาละวาดทุกปีในช่วงหน้าหนาวที่มีอากาศเย็นต่างกับท้อง
เสียในช่วงหน้าร้อนที่มักจะเกิดจากเชื้อแบคทีเรียมากกว่า เพราะอากาศร้อนทำให้อาหารบูด
เสียได้ง่าย เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ชั้นดีของแบคทีเรีย แต่อากาศเย็นทำให้เชื้อไวรัสมีชีวิตอยู่ได้นานขึ้น
ภาวะท้องเสียจากเชื้อไวรัสมีชีวิตอยู่ได้นานขึ้น ภาวะท้องเสียจากเชื้อไวรัสจึงมักระบาดในหน้าหนาว
เช่นเดียวกันโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสอื่น เช่น อีสุกอีใส หวัด ไข้
ผมชื่อ "โรต้า ไวรัส"
โรคนี้พบได้บ่อยในช่วงอายุ 2 ขวบปีแรก เป็นสาเหตุของการท้องเสียที่พบได้บ่อยที่สุดในเด็กอายุแรกเกิดถึง 5 ปี โรคนี้เป็นแล้วก็สามารถเป็นซ้ำได้อีก เพราะเชื้อตัวนี้มีหลายสายพันธุ์ แต่มักจะไม่ค่อยรุนแรงเหมือนครั้งแรก เพราะมีภูมิคุ้มกันอยู่บ้าง
โรคนี้แม้จะเจอบ่อย แต่โชคดีที่ส่วนใหญ่อาการมักไม่รุนแรงจนเสียชีวิต อาการของโรคนี้ ได้แก่ ไข้ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลว บ่อยครั้ง ลักษณะอุจจาระเป็นน้ำ อาจมีน้ำมูกหรือไอร่วมด้วยเล็กน้อย ซึ่งเป็นอาการที่พบร่วมได้บ่อยเมื่อมีการติดเชื้อไวรัส
อาการ เหล่านี้จะนำไปสู่ภาวะขาดน้ำ ถ้าเป็นน้อยก็แค่ปากแห้งรู้สึกกระหายน้ำ ถ้าขาดน้ำมากขึ้นก็จะเริ่มมีอาการกระสับกระส่าย ซึม ถ้ารุนแรงก็จะเริ่มเห็นตาลึกโบ๋ ผิวเหี่ยวจนจับตั้งได้ ความดันต่ำ ช็อกหมดสติ เด็กอาจเสียชีวิตได้ถ้าให้การรักษาไม่ทัน
ดูแลป้องกันให้ลูก
ไวรัส ตัวนี้ติดต่อได้ง่ายมาก โดยการสัมผัสกับอุจจาระหรือวัสดุที่ปนเปื้อนกับอุจจาระโดยตรง ดังนั้นการป้องกันการติดต่อที่ดีที่สุดคือ การล้างมือให้ลูกบ่อย ๆ คนที่ดูแลเด็กก็ควรล้างมือฟอกสบู่ให้สะอาดทุกครั้งก่อนชงนมหรือหลังเปลี่ยน ผ้าอ้อม หลีกเลี่ยงการนำมือหรือของเล่นเข้าปาก เพราะเชื้อตัวนี้มีอยู่ในอากาศทั่วไป และแฝงอยู่ตามสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ โดยมีชีวิตอยู่ได้นานเป็นวัน
เนื่องจากโรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัสจึงไม่มียาฆ่าเชื้อรักษา การรักษาส่วนใหญ่จึงเป็นการรักษาตามอาการคือ เช็ดตัว ให้ยาลดไข้ให้ยาแก้อาเจียน รักษาอาการขาดน้ำโดยให้กินน้ำเกลือแร่ครั้งละน้อย ๆ แต่ให้บ่อย ๆ ให้รับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย ถ้าอาเจียน หรืออ่อนเพลียมาก กินไม่ได้ อาจจำเป็นต้องให้น้ำเกลือและยาฉีดทางเส้นเลือดจนกว่าอาการจะดีขึ้น โดยทั่วไป มักเริ่มมีอาการหลังจากได้รับเชื้อไปแล้ว 2 วัน และเป็นอยู่ 3-8 วัน
ในปัจจุบันวัคซีนป้องกันโรคนี้ชนิดกินให้ในเด็กอายุ 6-24 สัปดาห์ ที่สำคัญ การกินนมแม่จะเป็นอีกหนทางหนึ่งที่จะช่วยป้องกันโรคนี้ได้ เพราะในนมแม่จะมีภูมิต้านทานต่อโรคต่าง ๆ ผ่านจากแม่มาสู่ลูก ช่วยป้องกันการติดเชื้อได้หลากชนิดค่ะ
ผมชื่อ "โรต้า ไวรัส"
โรคนี้พบได้บ่อยในช่วงอายุ 2 ขวบปีแรก เป็นสาเหตุของการท้องเสียที่พบได้บ่อยที่สุดในเด็กอายุแรกเกิดถึง 5 ปี โรคนี้เป็นแล้วก็สามารถเป็นซ้ำได้อีก เพราะเชื้อตัวนี้มีหลายสายพันธุ์ แต่มักจะไม่ค่อยรุนแรงเหมือนครั้งแรก เพราะมีภูมิคุ้มกันอยู่บ้าง
โรคนี้แม้จะเจอบ่อย แต่โชคดีที่ส่วนใหญ่อาการมักไม่รุนแรงจนเสียชีวิต อาการของโรคนี้ ได้แก่ ไข้ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลว บ่อยครั้ง ลักษณะอุจจาระเป็นน้ำ อาจมีน้ำมูกหรือไอร่วมด้วยเล็กน้อย ซึ่งเป็นอาการที่พบร่วมได้บ่อยเมื่อมีการติดเชื้อไวรัส
อาการ เหล่านี้จะนำไปสู่ภาวะขาดน้ำ ถ้าเป็นน้อยก็แค่ปากแห้งรู้สึกกระหายน้ำ ถ้าขาดน้ำมากขึ้นก็จะเริ่มมีอาการกระสับกระส่าย ซึม ถ้ารุนแรงก็จะเริ่มเห็นตาลึกโบ๋ ผิวเหี่ยวจนจับตั้งได้ ความดันต่ำ ช็อกหมดสติ เด็กอาจเสียชีวิตได้ถ้าให้การรักษาไม่ทัน
ดูแลป้องกันให้ลูก
ไวรัส ตัวนี้ติดต่อได้ง่ายมาก โดยการสัมผัสกับอุจจาระหรือวัสดุที่ปนเปื้อนกับอุจจาระโดยตรง ดังนั้นการป้องกันการติดต่อที่ดีที่สุดคือ การล้างมือให้ลูกบ่อย ๆ คนที่ดูแลเด็กก็ควรล้างมือฟอกสบู่ให้สะอาดทุกครั้งก่อนชงนมหรือหลังเปลี่ยน ผ้าอ้อม หลีกเลี่ยงการนำมือหรือของเล่นเข้าปาก เพราะเชื้อตัวนี้มีอยู่ในอากาศทั่วไป และแฝงอยู่ตามสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ โดยมีชีวิตอยู่ได้นานเป็นวัน
เนื่องจากโรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัสจึงไม่มียาฆ่าเชื้อรักษา การรักษาส่วนใหญ่จึงเป็นการรักษาตามอาการคือ เช็ดตัว ให้ยาลดไข้ให้ยาแก้อาเจียน รักษาอาการขาดน้ำโดยให้กินน้ำเกลือแร่ครั้งละน้อย ๆ แต่ให้บ่อย ๆ ให้รับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย ถ้าอาเจียน หรืออ่อนเพลียมาก กินไม่ได้ อาจจำเป็นต้องให้น้ำเกลือและยาฉีดทางเส้นเลือดจนกว่าอาการจะดีขึ้น โดยทั่วไป มักเริ่มมีอาการหลังจากได้รับเชื้อไปแล้ว 2 วัน และเป็นอยู่ 3-8 วัน
ในปัจจุบันวัคซีนป้องกันโรคนี้ชนิดกินให้ในเด็กอายุ 6-24 สัปดาห์ ที่สำคัญ การกินนมแม่จะเป็นอีกหนทางหนึ่งที่จะช่วยป้องกันโรคนี้ได้ เพราะในนมแม่จะมีภูมิต้านทานต่อโรคต่าง ๆ ผ่านจากแม่มาสู่ลูก ช่วยป้องกันการติดเชื้อได้หลากชนิดค่ะ
เรื่อง
: พญ.น้ำเพชร รัชตภูษิต
ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต
No comments:
Post a Comment