เชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่หลายคนต้องเคย ประสบพบเจอปัญหาอันน่าปวดหัว เวลาที่ลูกของคุณไม่ยอมรับฟังและเบือนหน้าหนีทุกครั้งที่คุณเริ่มพูดกับเขา
แต่อย่าเพิ่งไปนึกว่านี่เป็นนิสัยที่ไม่ดีของเขาเอง เพราะอาการแบบนี้ เกิดขึ้นเพราะคุณพ่อคุณแม่ด้วยส่วนหนึ่ง
ลองนึกดูดี ๆ สิว่าคุณเคยพูดจาไม่ดีหรือพูดอะไรแล้วเชื่อถือไม่ได้จนลูกของคุณเบื่อที่จะ
ฟังคุณพูดแล้วหรือเปล่า หากบ้านไหนกำลังเจอปัญหานี้อยู่ ลองนำ 5 วิธีแก้ไขเมื่อลูกไม่ยอมรับฟังที่คุณพ่อคุณแม่พูดไปใช้กันได้เลย
1. รักษาคำพูดให้ดี
คุณพ่อคุณแม่เปรียบเสมือนดั่งไอดอลของลูก ที่พวกเขาพยายามอยากจะเป็นเหมือนคุณในทุก ๆ ทาง ฉะนั้นคุณควรจะทำตัวให้น่าเชื่อถือได้ อย่างเวลาคุณพูดหรือสัญญาอะไรไว้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กหรือใหญ่ ก็ไม่ควรจะสัญญาทิ้ง ๆ ขว้าง ๆ หรือนึกว่าเด็กจะลืม เพราะหากคุณพูดอะไรแล้วไม่ทำตามที่บอกไว้ ต่อไปพวกเขาก็คงไม่อยากจะฟังที่คุณพูดอีกต่อไปแล้ว
2. เป็นผู้ฟังที่ดีของลูก
เวลาที่ลูกของคุณต้องการจะบอกหรือเล่าอะไรให้ฟัง ควรจะตั้งใจฟังพวกเขาอย่างแท้จริง เพราะหากเขาได้พูดอะไรที่คิดออกมา คุณจะเข้าใจความคิดของพวกเขาและเข้าใจปัญหาที่เด็กนั้นเจออยู่ ถ้าพวกเขาไม่อยากทำอะไรหรือไม่ชอบอะไร ก็ไม่ควรบังคับ แต่ควรให้คำแนะนำที่ดีเพื่อป้องกันไม่ให้ลูกของคุณดื้อรั้นในภายภาคหน้า
3. ร่วมเล่นกับลูกบ้าง
หากต้องการเข้าใจลูกมากขึ้น คุณควรจะมีส่วนร่วมในการเล่นกับเขาบ้าง วิธีนี้จะช่วยกระชับความสัมพันธ์และเด็กจะรู้สึกอบอุ่นใจมากขึ้น หากเขาเป็นเด็กที่ไม่ยอมฟังคุณพูดมาก่อน การทำให้เขารู้สึกสบายใจและอบอุ่นใจแบบนี้ จะช่วยทำให้เขาระบายปัญหาและบอกกับคุณตรง ๆ ว่าทำไมเขาถึงไม่ฟังที่คุณพูดโดยที่ไม่ต้องกลัวคุณลงโทษ แค่นี้จะช่วยทำให้คุณเข้าใจต้นเหตุมากขึ้นแล้ว
4. ยอมรับคำขอของลูก
การไม่ยอมรับคำขอของลูก ถือเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ลูกไม่ยอมรับฟังคุณพ่อคุณแม่มากทึ่สุด เวลาที่เขาขออะไรคุณสักอย่าง แทนที่จะตอบว่า "ไม่" ควรตอบว่า "ใช่" หรือ "ได้" จะทำให้เขารู้สึกดีกว่า อย่างเวลาที่เขาขอดูโทรทัศน์ แทนที่จะบอกว่าไม่ได้ ก็ควรบอกว่าได้ แต่แค่กำหนดขอบเขตของเวลาในการดูแทนก็ได้
5. อธิบายเหตุผลให้ลูกเข้าใจ
เวลาที่คุณบอกให้ลูกทำอะไรหรือห้ามทำอะไร คุณควรจะพูดดี ๆ ไม่อย่างนั้นเขาก็จะไม่อยากฟังคุณพูดและอาจโตขึ้นมาเป็นเด็กที่ก้าวร้าวไม่ มีมารยาทก็ได้ หากสิ่งไหนที่คุณบอกให้ลูกทำหรือไม่ให้ทำ คุณควรจะมีเหตุผลมาอธิบายให้เขาเข้าใจดี ๆ เพียงเท่านี้ลูกของคุณก็จะรับฟังสิ่งต่าง ๆ ที่คุณพูดเสมอ
เห็นไหมล่ะคะว่า การที่จะทำให้ลูกของคุณหันมารับฟังทุกสิ่งที่คุณพูด ไม่ได้เป็นเรื่องยากเลย หากต้องการให้ลูกของคุณเป็นเด็กดีไม่ก้าวร้าวและรับฟังสิ่งดี ๆ ที่คุณสอนเขา ก็ลองนำ 5 วิธีนี้ไปใช้แก้ไขก่อนที่จะสายเกินแก้นะคะ
1. รักษาคำพูดให้ดี
คุณพ่อคุณแม่เปรียบเสมือนดั่งไอดอลของลูก ที่พวกเขาพยายามอยากจะเป็นเหมือนคุณในทุก ๆ ทาง ฉะนั้นคุณควรจะทำตัวให้น่าเชื่อถือได้ อย่างเวลาคุณพูดหรือสัญญาอะไรไว้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กหรือใหญ่ ก็ไม่ควรจะสัญญาทิ้ง ๆ ขว้าง ๆ หรือนึกว่าเด็กจะลืม เพราะหากคุณพูดอะไรแล้วไม่ทำตามที่บอกไว้ ต่อไปพวกเขาก็คงไม่อยากจะฟังที่คุณพูดอีกต่อไปแล้ว
2. เป็นผู้ฟังที่ดีของลูก
เวลาที่ลูกของคุณต้องการจะบอกหรือเล่าอะไรให้ฟัง ควรจะตั้งใจฟังพวกเขาอย่างแท้จริง เพราะหากเขาได้พูดอะไรที่คิดออกมา คุณจะเข้าใจความคิดของพวกเขาและเข้าใจปัญหาที่เด็กนั้นเจออยู่ ถ้าพวกเขาไม่อยากทำอะไรหรือไม่ชอบอะไร ก็ไม่ควรบังคับ แต่ควรให้คำแนะนำที่ดีเพื่อป้องกันไม่ให้ลูกของคุณดื้อรั้นในภายภาคหน้า
3. ร่วมเล่นกับลูกบ้าง
หากต้องการเข้าใจลูกมากขึ้น คุณควรจะมีส่วนร่วมในการเล่นกับเขาบ้าง วิธีนี้จะช่วยกระชับความสัมพันธ์และเด็กจะรู้สึกอบอุ่นใจมากขึ้น หากเขาเป็นเด็กที่ไม่ยอมฟังคุณพูดมาก่อน การทำให้เขารู้สึกสบายใจและอบอุ่นใจแบบนี้ จะช่วยทำให้เขาระบายปัญหาและบอกกับคุณตรง ๆ ว่าทำไมเขาถึงไม่ฟังที่คุณพูดโดยที่ไม่ต้องกลัวคุณลงโทษ แค่นี้จะช่วยทำให้คุณเข้าใจต้นเหตุมากขึ้นแล้ว
4. ยอมรับคำขอของลูก
การไม่ยอมรับคำขอของลูก ถือเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ลูกไม่ยอมรับฟังคุณพ่อคุณแม่มากทึ่สุด เวลาที่เขาขออะไรคุณสักอย่าง แทนที่จะตอบว่า "ไม่" ควรตอบว่า "ใช่" หรือ "ได้" จะทำให้เขารู้สึกดีกว่า อย่างเวลาที่เขาขอดูโทรทัศน์ แทนที่จะบอกว่าไม่ได้ ก็ควรบอกว่าได้ แต่แค่กำหนดขอบเขตของเวลาในการดูแทนก็ได้
5. อธิบายเหตุผลให้ลูกเข้าใจ
เวลาที่คุณบอกให้ลูกทำอะไรหรือห้ามทำอะไร คุณควรจะพูดดี ๆ ไม่อย่างนั้นเขาก็จะไม่อยากฟังคุณพูดและอาจโตขึ้นมาเป็นเด็กที่ก้าวร้าวไม่ มีมารยาทก็ได้ หากสิ่งไหนที่คุณบอกให้ลูกทำหรือไม่ให้ทำ คุณควรจะมีเหตุผลมาอธิบายให้เขาเข้าใจดี ๆ เพียงเท่านี้ลูกของคุณก็จะรับฟังสิ่งต่าง ๆ ที่คุณพูดเสมอ
เห็นไหมล่ะคะว่า การที่จะทำให้ลูกของคุณหันมารับฟังทุกสิ่งที่คุณพูด ไม่ได้เป็นเรื่องยากเลย หากต้องการให้ลูกของคุณเป็นเด็กดีไม่ก้าวร้าวและรับฟังสิ่งดี ๆ ที่คุณสอนเขา ก็ลองนำ 5 วิธีนี้ไปใช้แก้ไขก่อนที่จะสายเกินแก้นะคะ
ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต
No comments:
Post a Comment