กิจกรรมทำให้เด็กเกิดสมาธิมีอะไรบ้าง ? สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องการฝึกให้เจ้าตัวเล็กมีสมาธิจดจ่ออยู่กับสิ่งใด สิ่งหนึ่งอย่างแน่วแน่และตั้งใจ
เพื่อส่งผลให้การเรียนในอนาคต และการทำกิจกรรมต่าง ๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี วันนี้กระปุกดอทคอมรวบรวมเอา
8 กิจกรรมเสริมสมาธิง่าย ๆ สำหรับเด็กมาฝากกัน ลองมาดูกันว่าคุณพ่อคุณแม่จะมีวิธีฝึกสมาธิให้ลูกอย่างไรบ้าง
สำหรับการเสริมสร้างสมาธิให้กับเด็กในเบื้องต้น คุณพ่อคุณแม่ควรเริ่มต้นจากการฝึกฝนให้ลูกทำกิจกรรมง่าย ๆ ให้ลูกได้เรียนรู้วิธีแก้ไขปัญหาด้วยตัวเองเสียก่อน ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร อาบน้ำ-ทาแป้ง หยิบของ หรือการติดกระดุมเสื้อผ้า แล้วค่อย ๆ เพิ่มระดับความยากของกิจกรรม เช่น การทำงานบ้าน เพื่อเป็นการกระตุ้นพัฒนาการในเรื่องการตัดสินใจ และช่วยให้เด็กรู้จักหน้าที่ของตนเอง จากนั้นจึงเตรียมฝึกสมาธิลูก ๆ ด้วยกิจกรรรมต่าง ๆ ดังนี้
1. อ่านหนังสือน่ารู้ & นิทานแสนสนุก เพราะในขณะที่เด็กกำลังอ่านหนังสือ หรือนิทาน จะเป็นการฝึกการออกเสียงพูด สะกดคำ ทำให้เด็กจดจ่ออยู่กับตัวหนังสือหรือตัวละคร รวมถึงการช่วยสร้างจินตนาการตามเรื่องราวที่ได้อ่านอีกด้วย แต่สำหรับเด็กเล็กที่ยังอ่านหนังสือไม่ได้ หรืออ่านหนังสือยังไม่คล่อง คุณพ่อคุณแม่อาจเป็นคนเล่านิทานให้ฟัง เพื่อช่วยฝึกการฟัง และออกเสียงก็ได้เช่นกันค่ะ
สำหรับการเสริมสร้างสมาธิให้กับเด็กในเบื้องต้น คุณพ่อคุณแม่ควรเริ่มต้นจากการฝึกฝนให้ลูกทำกิจกรรมง่าย ๆ ให้ลูกได้เรียนรู้วิธีแก้ไขปัญหาด้วยตัวเองเสียก่อน ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร อาบน้ำ-ทาแป้ง หยิบของ หรือการติดกระดุมเสื้อผ้า แล้วค่อย ๆ เพิ่มระดับความยากของกิจกรรม เช่น การทำงานบ้าน เพื่อเป็นการกระตุ้นพัฒนาการในเรื่องการตัดสินใจ และช่วยให้เด็กรู้จักหน้าที่ของตนเอง จากนั้นจึงเตรียมฝึกสมาธิลูก ๆ ด้วยกิจกรรรมต่าง ๆ ดังนี้
1. อ่านหนังสือน่ารู้ & นิทานแสนสนุก เพราะในขณะที่เด็กกำลังอ่านหนังสือ หรือนิทาน จะเป็นการฝึกการออกเสียงพูด สะกดคำ ทำให้เด็กจดจ่ออยู่กับตัวหนังสือหรือตัวละคร รวมถึงการช่วยสร้างจินตนาการตามเรื่องราวที่ได้อ่านอีกด้วย แต่สำหรับเด็กเล็กที่ยังอ่านหนังสือไม่ได้ หรืออ่านหนังสือยังไม่คล่อง คุณพ่อคุณแม่อาจเป็นคนเล่านิทานให้ฟัง เพื่อช่วยฝึกการฟัง และออกเสียงก็ได้เช่นกันค่ะ
2. ฟัง-เล่นดนตรีดีต่อสมาธิ เพื่อเป็นการช่วยให้จิตใจของลูกสงบ ลดความตึงเครียดก่อนเข้าเรียนและหลังเลิกเรียน อาจเปิดเพลงที่ทำนองเบา ๆ สบาย ๆ เช่น เพลงคลาสสิก เพลงบรรเลง จะช่วยเสริมสร้างความจำและการเรียนรู้ของเด็กให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ดีกว่าดูทีวี หรือเล่นเกมบนหน้าจอหลายเท่าเลยล่ะ
3. หามุมสงบส่วนตัวให้ลูก เพราะสาเหตุส่วนหนึ่งที่เด็กสมาธิสั้น อันเนื่องมาจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวซึ่งมีเสียงอึกทึกคึกโครมอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นจึงควรจัดหามุมนั่งเล่น หรือพื้นที่ที่ค่อนข้างเงียบสงบให้ลูกน้อยได้นั่งอ่านหนังสือ ทำการบ้าน หรือทบทวนบทเรียนโดยเฉพาะ
4. เรียนรู้ศิลปะ เพราะศิลปะคือหนึ่งในกิจกรรมที่ช่วยทำให้เกิดสมาธิ และการฝึกทักษะการใช้มือและสายตาทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ ไม่ว่าจะเป็นการวาดภาพ ปั้นดินน้ำมัน หรือการพับกระดาษ และงานฝีมือต่าง ๆ เพื่อให้ลูกได้ใช้ศิลปะในการฝึกสมาธิ สร้างความเพลิดเพลินไปกับจินตนาการของตัวเอง ที่สำคัญคุณพ่อคุณแม่สามารถสร้างงานศิลปะไปพร้อม ๆ กับลูกได้อีกด้วย
5. เล่นของเล่น หรือเกมที่ต้องใช้สมาธิ สิ่งสำคัญคือการเลือกของเล่นที่ช่วยฝึกสมาธิให้เด็กมีความตั้งใจจดจ่อและมี พัฒนาการด้านสมอง เช่น เกมจับคู่ ต่อจิ๊กซอว์ เลโก้ บล็อกไม้ หมากฮอส โดยการฝึกให้ลูกเล่นของเล่นทีละอย่างจะช่วยให้ลูกมีสมาธิกับการเล่นได้นาน ขึ้น
6. ช่วยทำงานบ้าน โดยการร่างทำตารางเวลาทำงานบ้านที่ลูกต้องรับผิดชอบ (แบบไม่เคร่งครัดมากจนเกินไป) เพื่อช่วยกำหนดกิจวัตรประจำวันของลูก อาจเริ่มตั้งแต่การตื่นนอนจนถึงเข้านอน เช่น การรดน้ำต้นไม้ ซักถุงเท้า เก็บที่นอน เป็นต้น วิธีนี้จะช่วยสร้างการเรียนรู้จดจำ และทำให้เด็กมีสมาธิทำอะไรเป็นระบบระเบียบมากยิ่งขึ้น
7. ธรรมชาติสร้างสมาธิ ไม่ว่าจะเป็นต้นไม้ ใบไม้ ดอกไม้ที่อยู่ในสวนหลังบ้าน หรือแม้กระทั่งตามสวนสาธารณะ เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่สามารถเสริมสร้างการเรียนรู้ให้ลูกได้ ตลอดเวลา อาจเริ่มต้นจากเรียนรู้ขั้นตอนการปลูกต้นไม้ รดน้ำ ใส่ปุ๋ย จวบจนกระทั่งรอจนถึงวันที่ต้นไม้ผลิดอกออกผล เป็นการฝึกสมาธิในการเฝ้าสังเกต และการติดตามการเจริญเติบโตของต้นไม้ในแต่ละวัน
8. ฝึกสมาธิเวลาว่าง จากสิ่งของใกล้ตัว อย่าง การอ่านหนังสือพิมพ์ สอนลูกปั่นจักรยานให้ตรงตามเส้น อ่านนิทานให้คุณพ่อคุณแม่ฟัง หรือการท่องบทสวดมนต์ก่อนนอน นอกจากจะช่วยให้ลูกสงบนิ่งมีจิตใจจดจ่อกับกิจกรรมที่ทำแล้ว ยังเป็นการเสริมสร้างความมั่นใจให้ลูกได้อีกด้วย
อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากคุณพ่อคุณแม่จะหาเวลาว่างพาลูกไปทำกิจกรรมเสริมสมาธิที่เราแนะนำ มาทั้ง 8 ข้อนี้แล้ว สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ การสนับสนุนและให้ความสนใจในสิ่งที่ลูกชอบอยู่เสมอ เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ลูกพร้อมเรียนรู้และมีความพยายามในการทำสิ่งต่าง ๆ อย่างเต็มที่
No comments:
Post a Comment