ครอบครัวเรามีแนวการเลี้ยวดูลูกค่อน
ข้างปล่อยให้ลูกช่วงเหลือตัวเองให้ได้มากที่สุด ตั้งแต่เล็ก ๆ คุณแม่ใส่เหล็กที่หลังเลยอุ้มเขาไม่ค่อยได้
ลูกก็เดินด้วยตัวเองตลอดเขาขอให้อุ้ม เราก็บอกว่าเราเจ็บหลังนะ เขาเข้าใจ แต่พอเราขออุ้มเขา
เขากลับบอกว่า "ไม่ต้อง หม่ามี้ เดี๋ยวหม่ามี้เจ็บ" นั่นคือคำพูดของเด็กที่เพิ่งจะหัดพูด
เลี้ยงลูกด้วยความจริง
ประเด็น คือ การพูดความจริงที่เด็กพอจะเข้าใจได้ พร้อมยกตัวอย่างง่าย ๆ ให้เขาเข้าใจ เมื่อเขาเข้าใจ เขาก็จะปฏิบัติตาม ส่วนคุณพ่อก็เลี้ยงสไตล์ตะวันตก มีการทำโทษโดยการเข้ามุมเมื่อทำผิด ให้ยืนเพื่อให้ลูกรู้ว่าทำอะไรผิดหรือไม่สมควร เขาก็สงบและเดินมากล่าวคำขอโทษ เช่น ทำอะไรแตก ทั้ง ๆ ที่พ่อแม่เตือนแล้ว แต่ก็ไม่เชื่อ เมื่อเขาทำผิด เขาก็รีบขอโทษ หรือเขาร้องเอาแต่ใจ เรานิ่งแล้วจับเขาไปในที่เงียบ ๆ สักพักเขาก็จะเดินมาขอโทษ ตอนนั้นล่ะที่เราจะบอกเล่าพูดคุยด้วยเหตุผล
ปลอบโยนและให้กำลังใจ
เราโอบกอดลูกทุกครั้งที่ลูกเจ็บหรือร้องไห้ ให้กำลังใจ และปลอบโยนเหมือนพ่อแม่ทั่ว ๆ ไป และใช้ช่วงเวลาที่เขารับรู้ความรู้สึกเจ็บนั้น สอนและเตือนไปในตัว ไม่มีการซ้ำเติมหรือพูดจาประชดลูกและไม่เคยมีปากเสียงกันให้ลูกเห็น
ฝึกลูกช่วยเหลือตั้งแต่เล็ก
ตอนเริ่มเข้าเรียนที่อนุบาล น้องอายุประมาณ 2.5 ขวบ ผู้ปกครองส่วนใหญ่จะไปส่งลูกถึงห้อง หิ้วกระเป๋า อุ้ม หรือเฝ้ารอจนครูต้องขอร้องให้กลับได้แล้ว เริ่มแรกก็ส่งลูกเหมือน ๆ คนอื่นค่ะ เพียงแค่ 2-3 วันแรกเท่านั้น ต่อจากนั้นก็ให้ลูกเดินไปห้องเรียนเองสะพายกระเป๋าเอง
เรื่องอาหารการกินก็พยายามให้ทานเอง ไม่ป้อนมากนัก หกก็หก เดี๋ยวเช็ดได้ เขาก็สามารถรับประทานข้าวได้เอง เรื่องของเล่น หรือของรางวัลก็ไม่ค่อยได้ซื้อให้บ่อยนัก แต่จะเน้นเรื่องหนังสือ ชวนไปดูโปสเตอร์ภาพสวย ๆ ซื้อแบบฝึกหัดมาทำบ้าง
จัดตารางสร้างวินัย
การจัดตารางเวลาก็สำคัญ เช่น เสาร์-อาทิตย์ เช้าตื่นมาต้องทานอาหารเช้าเล็กน้อย คอร์นเฟลกสักถ้วยหรือขนมปัง-ไส้กรอกก็ยังดี สาย ๆ ก็บอกว่านี่คือเวลาของเขาทำอะไรก็ได้ ถ้าเล่นของเล่นก็ต้องเก็บเอง กลางวันก็ออกไปหาอะไรรับประทาน บ่าย ๆ ก็ไปว่ายน้ำ เป็นต้น
เลี้ยงลูกด้วยความจริง
ประเด็น คือ การพูดความจริงที่เด็กพอจะเข้าใจได้ พร้อมยกตัวอย่างง่าย ๆ ให้เขาเข้าใจ เมื่อเขาเข้าใจ เขาก็จะปฏิบัติตาม ส่วนคุณพ่อก็เลี้ยงสไตล์ตะวันตก มีการทำโทษโดยการเข้ามุมเมื่อทำผิด ให้ยืนเพื่อให้ลูกรู้ว่าทำอะไรผิดหรือไม่สมควร เขาก็สงบและเดินมากล่าวคำขอโทษ เช่น ทำอะไรแตก ทั้ง ๆ ที่พ่อแม่เตือนแล้ว แต่ก็ไม่เชื่อ เมื่อเขาทำผิด เขาก็รีบขอโทษ หรือเขาร้องเอาแต่ใจ เรานิ่งแล้วจับเขาไปในที่เงียบ ๆ สักพักเขาก็จะเดินมาขอโทษ ตอนนั้นล่ะที่เราจะบอกเล่าพูดคุยด้วยเหตุผล
ปลอบโยนและให้กำลังใจ
เราโอบกอดลูกทุกครั้งที่ลูกเจ็บหรือร้องไห้ ให้กำลังใจ และปลอบโยนเหมือนพ่อแม่ทั่ว ๆ ไป และใช้ช่วงเวลาที่เขารับรู้ความรู้สึกเจ็บนั้น สอนและเตือนไปในตัว ไม่มีการซ้ำเติมหรือพูดจาประชดลูกและไม่เคยมีปากเสียงกันให้ลูกเห็น
ฝึกลูกช่วยเหลือตั้งแต่เล็ก
ตอนเริ่มเข้าเรียนที่อนุบาล น้องอายุประมาณ 2.5 ขวบ ผู้ปกครองส่วนใหญ่จะไปส่งลูกถึงห้อง หิ้วกระเป๋า อุ้ม หรือเฝ้ารอจนครูต้องขอร้องให้กลับได้แล้ว เริ่มแรกก็ส่งลูกเหมือน ๆ คนอื่นค่ะ เพียงแค่ 2-3 วันแรกเท่านั้น ต่อจากนั้นก็ให้ลูกเดินไปห้องเรียนเองสะพายกระเป๋าเอง
เรื่องอาหารการกินก็พยายามให้ทานเอง ไม่ป้อนมากนัก หกก็หก เดี๋ยวเช็ดได้ เขาก็สามารถรับประทานข้าวได้เอง เรื่องของเล่น หรือของรางวัลก็ไม่ค่อยได้ซื้อให้บ่อยนัก แต่จะเน้นเรื่องหนังสือ ชวนไปดูโปสเตอร์ภาพสวย ๆ ซื้อแบบฝึกหัดมาทำบ้าง
จัดตารางสร้างวินัย
การจัดตารางเวลาก็สำคัญ เช่น เสาร์-อาทิตย์ เช้าตื่นมาต้องทานอาหารเช้าเล็กน้อย คอร์นเฟลกสักถ้วยหรือขนมปัง-ไส้กรอกก็ยังดี สาย ๆ ก็บอกว่านี่คือเวลาของเขาทำอะไรก็ได้ ถ้าเล่นของเล่นก็ต้องเก็บเอง กลางวันก็ออกไปหาอะไรรับประทาน บ่าย ๆ ก็ไปว่ายน้ำ เป็นต้น
สิ่งสำคัญที่สุดคือ ครอบครัวเราบอกรัก หอมแก้มและกอดกันทุกวัน "แม่รักหนูนะ" เป็นคำที่ออกมาจากปากโดยไม่ต้องคิดอะไร ไม่ต้องไตร่ตรอง เพราะออกจากความรู้สึกที่อยู่ในใจเราตลอดเวลา คุณพ่อเป็นคนตรงแบบฝรั่ง ๆ ทุกครั้งที่เขาสอนลูก เขาจะกอดลูกและพูดกับลูก โดยให้ลูกทวนกลับว่าที่เขาพูดไป ลูกเข้าใจว่าอย่างไร บ่อยครั้งที่เขาเอาคำพูดของเรามาพูดอีกครั้งหนึ่งโดยที่เราก็นึกไม่ออกว่า เคยสอนอะไรไป คุณแม่พูดและบอกเขาเหมือนเขาเป็นผู้ใหญ่ตัวเล็ก เขาช่างสงสัยไปทุกเรื่อง ถ้าเราอธิบายยาก เช่น ข้าวมาจากไหนคุณแม่ก็กดหาใน youtube ให้เขาเห็นกระบวนการตั้งแต่ไถนากันเลยทีเดียว ทำให้เด็กสนใจมากกว่าเราอธิบายจากในหนังสือ
เรื่อง :
ธนกาญจน์ คอลลินส์
ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต
No comments:
Post a Comment