มีคำถามบ่อย ๆ ว่า "เด็กปวดหัวด้วยหรือ"
เด็กก็มีอาการปวดหัวได้ค่ะ และเมื่ออายุมากขึ้น 5 ถึง 7
ปี เค้าก็เริ่มที่จะบอกเล่าอาการของความผิดปกติของตนเองได้ดีขึ้น และเมื่ออยู่ระดับประถมศึกษาตอนต้น
หรืออายุ 7 ปีขึ้นไป มากกว่าครึ่งจนถึงเด็กเกือบทุกคนจะมีการปวดหัว
หรือเคยมีการปวดหัวมาก่อน
อาการปวดหัวของลูก
การแบ่งชนิดการปวดหัว สามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบกว้าง ๆ คือแบบที่มีสาเหตุ และแบบที่ไม่มีสาเหตุ แบบที่มีสาเหตุเช่น เนื้องอกในสมอง น้ำคั่งในสมอง เลือดออกในสมอง เป็นต้น ส่วนแบบที่ไม่มีสาเหตุ เช่น ไมเกรน ภาวะเครียด เป็นต้น
ส่วนใหญ่อาการปวดหัวของเด็กจะอยู่ในกลุ่มหลัง คือแบบที่ไม่มีสาเหตุ เมื่อพ่อแม่พาลูกมาพบแพทย์ด้วยอาการปวดศีรษะ แพทย์จะอาศัยการซักประวัติของการปวดหัวที่ละเอียด ว่าเด็กปวดหัวแบบมีสาเหตุใช่หรือไม่ใช่ และถ้าเป็นแบบไม่มีสาเหตุจะเป็นไมเกรนหรือไม่ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยแพทย์ได้มาก และทำให้การวินิจฉัยวางแผนรักษาเป็นไปอย่างรวดเร็วและตรงประเด็น ถ้าสามารถตอบคำถามที่ช่วยให้แพทย์แยกโรคได้ชัดเจน
ปวดหัวที่พบบ่อยในเด็ก
ตามที่กล่าวมาแล้ว การปวดหัวบ่อยในเด็กมักเป็นแบบไม่มีสาเหตุ ซึ่งพ่อแม่ส่วนใหญ่นึกถึงไมเกรน แต่จริง ๆ ลักษณะปวดหัวที่พบได้บ่อยกว่าไมเกรน คือ การปวดหัวแบบน่ารำคาญ
การปวดหัวแบบน่ารำคาญ หรือปวดเป็นประจำวันประกอบด้วยการปวดหัวหลายรูปแบบ และพบมากกว่าการปวดหัวแบบไมเกรนถึง 3 เท่า การปวดชนิดนี้จะมีลักษณะปวดเล็กน้อย ไม่รุนแรง ปวดแบบดื้อ ๆ หรือเต้นตุบตุบ ตามหัวใจก็ได้ จะปวดหัวข้างศีรษะหรือสองข้างก็ได้ แต่ถ้าใช่แน่ ๆ คือปวดด้านหน้าสองข้าง ปวดมาก ตอนบ่ายหรือตอนเย็น เด็กจะเล่นได้ เรียนได้ กินอาหารได้เป็นปกติ เพียงแต่ชอบบ่นให้พ่อแม่ฟังว่าปวดหัว หากทำการซักประวัติเพิ่มเติม อาจพบปัญหาเรื่องการเรียน ความเครียด ความวิตกกังวล อาการซึมเศร้า และอาการอื่นอีกมากมาย
ส่วนการปวดหัวไมเกรนจะมีการปวดหัวแบบฉับพลันดูรุนแรงกว่าแบบแรก การปวดหัวจะเป็นพัก ๆ คือช่วงที่มีอาการจะดูรุนแรง แต่ช่วงที่หายปกติก็ปกติดีเหมือนไม่เป็นอะไร ซึ่งต่างจากแบบแรกที่บ่นว่าปวดหัวได้ตลอดเวลา นอกจากนี้เด็กไมเกรนอาจมีอาการซีด คลื่นไส้ อาเจียน กลัวแสง กลัวเสียง และอยากจะนอนหลับ น้อยรายที่จะมีอาการทางระบบประสาทร่วมด้วย และอาการที่พบบ่อยคือ อาการทางสายตา ร่วมกับมึนศีรษะ เวียนศีรษะ เดินเซ
เมื่อลูกบ่นว่าปวดหัว
การปวดหัวแบบน่ารำคาญจะใช้ยาแก้ปวด เช่น Ibuprofen อาจใช้ชนิดเดียวหรือร่วมกับพาราฯ ก็เพียงพอ อย่างไรก็ตาม ในเด็กบางรายที่ใช้ยาเกือบทุกวัน บ่อยครั้งการหยุดยาจะทำให้ผู้ป่วยหายจากการปวดหัวได้เช่นกัน เนื่องจากกรณีนี้เด็กจะมีอาการปวดหัวจากการใช้มากเกินไป ในรายที่ลูกปวดหัวบ่อยมาก หยุดโรงเรียนบ่อยและจำเป็นต้องกินยาแก้ปวดประจำ ควรมาพบแพทย์ค่ะ ให้อยู่ในความดูแลของแพทย์
มีไข้สูง ปวดหัวมาก
กรณีเด็กมีไข้แล้วปวดหัวมาก พบได้บ่อย เพราะไข้จะทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองมากกว่าปกติ เป็นการปวดหัวแบบมีสาเหตุ หรือในรายที่ปวดหัวแบบไม่มีสาเหตุอยู่ก่อน ก็จะทำให้อาการปวดหัวแบบเดิมแย่ลงไปอีก พ่อแม่มักพาลูกมาตรวจกับแพทย์อย่างเร่งด่วน หรือพาเด็กไปห้องฉุกเฉิน เนื่องจากเด็กส่วนใหญ่ที่มีอาการปวดหัวจากไข้นั้น พบว่าสาเหตุของไข้ในเด็กก็มักจะเป็นการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ ไซนัสอักเสบ เป็นต้น ซึ่งแพทย์จะต้องระวังอย่างมากในเรื่องของภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบโดยเฉพาะ ไข้ที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
สังเกตเมื่อลูกปวดหัว
ถ้าลูกมีการปวดหัวแบบน่ารำคาญ หรือปวดเป็นประจำวัน ก็สามารถปวดหัวไมเกรนได้ คือสามารถเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างก็ได้ กล่าวคือเมื่อลูกปวดหัวไปพบคุณหมอเด็ก แล้วถูกบอกว่าเป็นไมเกรน เมื่อมีอาการปวดหัวครั้งต่อไปก็อาจเป็นปวดหัวแบบน่ารำคาญได้
เด็กที่เป็นไมเกรน บ่อยครั้งกาจเกิดอาการแทรกซ้อนตามมาได้ ไม่ใช่แค่ปวดหัวและอาเจียนอย่างเดียว อาการปวดหัวที่เคยหายภายใน 24 ชั่วโมงก็อาจจะมีอาการปวดหัวติดต่อกันยาวนานมากกว่า 72 ชั่วโมงได้ และบางครั้งอาการเหล่านี้ก็ไม่ตอบสนองต่อยาแก้ปวดทั่ว ๆ ไป หรือเด็กบางคนอาจมีอาการปวดไมเกรนบ่อยมากขึ้นเรื่อย ๆ ถ้าไม่ดูแลให้ดี และอาการแทรกซ้อนที่พบได้น้อย แต่ดูน่ากลัว เช่น สมองขาดเลือดเหมือนอัมพาต และมีอาการชัก เป็นต้น
อาการปวดหัวอันตรายที่ต้องพบแพทย์
1. ปวดหัวมากขึ้นเรื่อย ๆ
2. อายุน้อยอยู่แล้วบ่นปวดหัว โดยเฉพาะเด็กที่อายุน้อยกว่า 3 ปี
3. เด็กที่เป็นโรคพันธุกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดเนื้องอกในสมองบางชนิด แล้วปวดหัวบ่อย ๆ
4. ปวดหัวรุนแรงมากที่สุดและไม่เคยเป็นมาก่อน
5. ปวดหัวตอนตื่นนอน
6. ปวดหัวด้านใดด้านหนึ่งหรือเฉพาะที่ เป็นเวลานาน ๆ
อย่าง ไรก็ดีไม่ว่าลูกจะมีอาการปวดหัวแบบไหน ถ้าเค้าเล่าให้ฟังว่าปวดหัวมาก ปวดหัวบ่อย สิ่งที่ควรทำคือ พูดคุยกับลูก และควรไปพบแพทย์กุมารแพทย์เพื่อความปลอดภัยค่ะ
อาการปวดหัวของลูก
การแบ่งชนิดการปวดหัว สามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบกว้าง ๆ คือแบบที่มีสาเหตุ และแบบที่ไม่มีสาเหตุ แบบที่มีสาเหตุเช่น เนื้องอกในสมอง น้ำคั่งในสมอง เลือดออกในสมอง เป็นต้น ส่วนแบบที่ไม่มีสาเหตุ เช่น ไมเกรน ภาวะเครียด เป็นต้น
ส่วนใหญ่อาการปวดหัวของเด็กจะอยู่ในกลุ่มหลัง คือแบบที่ไม่มีสาเหตุ เมื่อพ่อแม่พาลูกมาพบแพทย์ด้วยอาการปวดศีรษะ แพทย์จะอาศัยการซักประวัติของการปวดหัวที่ละเอียด ว่าเด็กปวดหัวแบบมีสาเหตุใช่หรือไม่ใช่ และถ้าเป็นแบบไม่มีสาเหตุจะเป็นไมเกรนหรือไม่ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยแพทย์ได้มาก และทำให้การวินิจฉัยวางแผนรักษาเป็นไปอย่างรวดเร็วและตรงประเด็น ถ้าสามารถตอบคำถามที่ช่วยให้แพทย์แยกโรคได้ชัดเจน
ปวดหัวที่พบบ่อยในเด็ก
ตามที่กล่าวมาแล้ว การปวดหัวบ่อยในเด็กมักเป็นแบบไม่มีสาเหตุ ซึ่งพ่อแม่ส่วนใหญ่นึกถึงไมเกรน แต่จริง ๆ ลักษณะปวดหัวที่พบได้บ่อยกว่าไมเกรน คือ การปวดหัวแบบน่ารำคาญ
การปวดหัวแบบน่ารำคาญ หรือปวดเป็นประจำวันประกอบด้วยการปวดหัวหลายรูปแบบ และพบมากกว่าการปวดหัวแบบไมเกรนถึง 3 เท่า การปวดชนิดนี้จะมีลักษณะปวดเล็กน้อย ไม่รุนแรง ปวดแบบดื้อ ๆ หรือเต้นตุบตุบ ตามหัวใจก็ได้ จะปวดหัวข้างศีรษะหรือสองข้างก็ได้ แต่ถ้าใช่แน่ ๆ คือปวดด้านหน้าสองข้าง ปวดมาก ตอนบ่ายหรือตอนเย็น เด็กจะเล่นได้ เรียนได้ กินอาหารได้เป็นปกติ เพียงแต่ชอบบ่นให้พ่อแม่ฟังว่าปวดหัว หากทำการซักประวัติเพิ่มเติม อาจพบปัญหาเรื่องการเรียน ความเครียด ความวิตกกังวล อาการซึมเศร้า และอาการอื่นอีกมากมาย
ส่วนการปวดหัวไมเกรนจะมีการปวดหัวแบบฉับพลันดูรุนแรงกว่าแบบแรก การปวดหัวจะเป็นพัก ๆ คือช่วงที่มีอาการจะดูรุนแรง แต่ช่วงที่หายปกติก็ปกติดีเหมือนไม่เป็นอะไร ซึ่งต่างจากแบบแรกที่บ่นว่าปวดหัวได้ตลอดเวลา นอกจากนี้เด็กไมเกรนอาจมีอาการซีด คลื่นไส้ อาเจียน กลัวแสง กลัวเสียง และอยากจะนอนหลับ น้อยรายที่จะมีอาการทางระบบประสาทร่วมด้วย และอาการที่พบบ่อยคือ อาการทางสายตา ร่วมกับมึนศีรษะ เวียนศีรษะ เดินเซ
เมื่อลูกบ่นว่าปวดหัว
การปวดหัวแบบน่ารำคาญจะใช้ยาแก้ปวด เช่น Ibuprofen อาจใช้ชนิดเดียวหรือร่วมกับพาราฯ ก็เพียงพอ อย่างไรก็ตาม ในเด็กบางรายที่ใช้ยาเกือบทุกวัน บ่อยครั้งการหยุดยาจะทำให้ผู้ป่วยหายจากการปวดหัวได้เช่นกัน เนื่องจากกรณีนี้เด็กจะมีอาการปวดหัวจากการใช้มากเกินไป ในรายที่ลูกปวดหัวบ่อยมาก หยุดโรงเรียนบ่อยและจำเป็นต้องกินยาแก้ปวดประจำ ควรมาพบแพทย์ค่ะ ให้อยู่ในความดูแลของแพทย์
มีไข้สูง ปวดหัวมาก
กรณีเด็กมีไข้แล้วปวดหัวมาก พบได้บ่อย เพราะไข้จะทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองมากกว่าปกติ เป็นการปวดหัวแบบมีสาเหตุ หรือในรายที่ปวดหัวแบบไม่มีสาเหตุอยู่ก่อน ก็จะทำให้อาการปวดหัวแบบเดิมแย่ลงไปอีก พ่อแม่มักพาลูกมาตรวจกับแพทย์อย่างเร่งด่วน หรือพาเด็กไปห้องฉุกเฉิน เนื่องจากเด็กส่วนใหญ่ที่มีอาการปวดหัวจากไข้นั้น พบว่าสาเหตุของไข้ในเด็กก็มักจะเป็นการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ ไซนัสอักเสบ เป็นต้น ซึ่งแพทย์จะต้องระวังอย่างมากในเรื่องของภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบโดยเฉพาะ ไข้ที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
สังเกตเมื่อลูกปวดหัว
ถ้าลูกมีการปวดหัวแบบน่ารำคาญ หรือปวดเป็นประจำวัน ก็สามารถปวดหัวไมเกรนได้ คือสามารถเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างก็ได้ กล่าวคือเมื่อลูกปวดหัวไปพบคุณหมอเด็ก แล้วถูกบอกว่าเป็นไมเกรน เมื่อมีอาการปวดหัวครั้งต่อไปก็อาจเป็นปวดหัวแบบน่ารำคาญได้
เด็กที่เป็นไมเกรน บ่อยครั้งกาจเกิดอาการแทรกซ้อนตามมาได้ ไม่ใช่แค่ปวดหัวและอาเจียนอย่างเดียว อาการปวดหัวที่เคยหายภายใน 24 ชั่วโมงก็อาจจะมีอาการปวดหัวติดต่อกันยาวนานมากกว่า 72 ชั่วโมงได้ และบางครั้งอาการเหล่านี้ก็ไม่ตอบสนองต่อยาแก้ปวดทั่ว ๆ ไป หรือเด็กบางคนอาจมีอาการปวดไมเกรนบ่อยมากขึ้นเรื่อย ๆ ถ้าไม่ดูแลให้ดี และอาการแทรกซ้อนที่พบได้น้อย แต่ดูน่ากลัว เช่น สมองขาดเลือดเหมือนอัมพาต และมีอาการชัก เป็นต้น
อาการปวดหัวอันตรายที่ต้องพบแพทย์
1. ปวดหัวมากขึ้นเรื่อย ๆ
2. อายุน้อยอยู่แล้วบ่นปวดหัว โดยเฉพาะเด็กที่อายุน้อยกว่า 3 ปี
3. เด็กที่เป็นโรคพันธุกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดเนื้องอกในสมองบางชนิด แล้วปวดหัวบ่อย ๆ
4. ปวดหัวรุนแรงมากที่สุดและไม่เคยเป็นมาก่อน
5. ปวดหัวตอนตื่นนอน
6. ปวดหัวด้านใดด้านหนึ่งหรือเฉพาะที่ เป็นเวลานาน ๆ
อย่าง ไรก็ดีไม่ว่าลูกจะมีอาการปวดหัวแบบไหน ถ้าเค้าเล่าให้ฟังว่าปวดหัวมาก ปวดหัวบ่อย สิ่งที่ควรทำคือ พูดคุยกับลูก และควรไปพบแพทย์กุมารแพทย์เพื่อความปลอดภัยค่ะ
ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต
No comments:
Post a Comment