Tuesday, April 17, 2012

7 พฤติกรรมการกิน ที่คุณแม่อย่านิ่งนอนใจ

วิธีสังเกตุพฤติกรรม

1)  อมข้าว :  ลูกน้อยไม่ยอมเคี้ยวข้าว อมข้าวจนแก้มตุ่ย ใช้เวลานานกว่าจะหมด 1 คำ  หรือในที่สุด คายข้าวออกมา เพราะรสชาติอาหารจืดลง เพราะอมไว้ในปากนานเกินไป

2)  กินช้า  :   ใช้เวลาการกินต่อ 1 มื้อ นานตั้งแต่ครึ่งชั่วโมง จนถึง 1 ชั่วโมง  เด็กๆ อาจสนใจสิ่งเร้าอื่นๆ เช่น ทีวี ของเล่น เป็นต้น  ทำให้จุดสนใจไปอยู่ที่สิ่งเร้าเลยไม่สนใจการกิน  คุณแม่ต้องถือช้อนรอจนเมื่อย

3)  กินแต่ขนม  :  ปฏิเสธที่จะกินอาหารมื้อหลัก  แต่เรียกร้องที่จะกินแต่ขนมระหว่างมื้อแทน  ติดใจรสชาติขนม เพราะอาจจะมีรสสัมผัสที่กรุบกรอบ รสชาติที่ถูกใจ แต่ไม่มีประโยชน์ เพราะส่วนใหญ่มักเป็นอาหารจำพวกแป้งและผงชูรส

4)  กินซ้ำ  :  กินแต่อาหารเดิมๆ ซ้ำๆ เช่น ชอบกินแต่ไข่ตุ๋น ก็จะเรียกร้องกินแต่ไข่ตุ๋น และปฏิเสธอาหารเมนูอื่นๆ ทำให้กินอาหารได้ไม่หลากหลาย

5)  กินน้อย  :  กินได้นิดๆ หน่อยๆ ก็บ่นว่าอิ่มแล้ว  และไม่อยากกินอาหารอีก อาจเป็นเพราะเด็กห่วงเล่น  สนใจในสิ่งอื่นๆ หรืออาจจะเป็นจากรสชาติในเมนูอาหารที่เขาไม่ถูกปาก เพราะเด็กแต่ละคนก็มีความชอบในรสชาติที่ต่างกัน

6)  เลือกกิน  :  อาการที่พบบ่อย คือ ไม่กินผัก ผลไม้ เลยเลือกที่จะไม่กินอาหารชนิดอื่นแทนที่อยู่บนจาน  อาจมีความเสี่ยงให้เด็กได้รับสารอาหารที่ไม่หลากหลายและไม่สมดุล

7)  ชอบเขี่ย  :  เขี่ยอาหารในจานเล่น ไม่ยอมกิน แต่ชอบเขี่ยเล่นมากกว่า อาจจะเป็นเพราะรสชาติอาหารที่ไม่ถูกปากหรือมีอาหารที่ไม่ชอบ

หากลูกมี 1 ใน 7 พฤติกรรมดังกล่าวข้างต้น  คุณแม่อย่านิ่งนอนใจ เพราะอาจมีผลกระทบในด้านต่างๆ ดังนี้

ผลต่อการเรียนรู้  :  คะแนน Mental Development Index Score ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ของเด็กอยู่ในระดับต่ำ จากงานวิจัยพบว่า คะแนน Mental Development Score (MDI) ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ของเด็กที่มีพฤติกรรมกินยาก ช่างเลือกต่ำกว่าเด็กทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญ

ผลด้านสุขภาพ  :  เพิ่มโอกาสในการเจ็บป่วย เด็กที่มีพฤติกรรมกินยาก ช่างเลือก มีแนวโน้มที่จะอ่อนแอ เพิ่มโอกาสในการติดเชื้อ อันมีผลให้เด็กเจ็บป่วยได้ง่าย

ผลต่อการเจริญเติบโต  :  น้ำหนักตัวน้อย เด็กที่มีพฤติกรรมกินยาก ช่างเลือก มีความเสื่ยงเป็น 2 เท่า ที่จะมีคะแนน BMI  (Body Mass Index < 10th percentile) เมื่อเทียบกับเด็กทั่วไป

ผลด้านโภชนาการ  :  ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ  เด็กที่มีพฤติกรรมกินยาก ช่างเลือก มีแนวโน้มที่จะมีความเสี่ยงที่จะได้รับสารอาหารไม่เพียงพอมากกว่าเด็กทั่วไป

แหล่งข้อมูลอ้างอิง  :  "Mother & Care" มกราคม 2555 
                               แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์

No comments:

Post a Comment