Thursday, October 11, 2012

เรื่องแบ่งปัน ทำไมลูกเราสอนยากจัง....



คำถาม :  ลูกผมอายุ 3 ขวบครับ ไม่รู้เพราะอะไรถึงสอนยากจังครับเรื่องแบ่งปัน หรือมีน้ำใจนี่ เขาหวงของกับคนนอกมากๆ โดยเฉพาะกับเด็กด้วยกัน ขนาดแตะยังไม่ได้ มีฮึดฮัด โวยวาย ทั้งที่ทุกคนในบ้านก็แบ่งกันเป็นประจำ แต่ผมเห็นเด็กบางคนเล็กกว่าลูกผมอีก ใจดีเหลือเกิน พ่อแม่แค่ลองใจแบ่งไหม เขายื่นของให้เลย บางคนพ่อแม่ไม่ต้องถาม เด็กน้อยเดินไปส่งให้ถึงมือ ก็เห็นมาแล้วครับ

ก่อนอื่นหวังว่าคุณพ่อคงชมเชยลูกบ้านอื่นหรือเปรียบเทียบเขากับลูกบ้านอื่นให้ผมฟังคนเดียว มิได้ทำเช่นนี้ต่อหน้าเขาหรือกับตัวเขาโดยตรง
 
ดูน้องสิ เขาใจดีจังเลย” “เห็นมั้ย คนนั้นยังแบ่งของเลย เขาเก่งเนอะ” “ไม่เก่งเลยลูก ดูพี่เค้าสิ เขายังไม่หวงเลย

คำพูดบาดหูแบบนี้หวังว่าคงไม่ได้พูดกับเขานะครับ หากเขาสวนได้เขาก็จะสวนออกมาประมาณว่า ก็แลกลูกกะบ้านนั้นเสียเลยสิ เห็นเขาดีนัก

แต่เนื่องจากเขาสวนออกมาเป็นวาจาแบบนี้ไม่ได้ ไม่ใช่เพราะยังพูดไม่เก่งแต่สมองของเขาก็มิได้ทำงานแบบนี้จริงๆ หรอกครับ ผมเพียงยกตัวอย่างให้เห็นชัดว่าสำหรับลูกคุณแล้ว คำพูดประเภทชอบยกยอปอปั้นลูกคนอื่นดีกว่าเขานั้นมันน่ารำคาญมากเพียงใด ที่แย่กว่าเรื่องนี้คือเขาไม่เข้าใจว่าคุณต้องการอะไร
สมองของเด็ก ยังไม่ได้ทำงานในระดับเปรียบเทียบหรือเปรียบเปรยหรืออุปมาดั่งว่าทำแบบบ้าน นั้นสิแล้วเขาจะเข้าใจ ก่อนแปดขวบเด็กทุกคนยังต้องการคำบอกหรือคำสั่งที่ชัดว่า คุณต้องการให้เขา” “ทำอะไรและ อย่างไร

“คุณ” หมายถึงคุณพ่อ ไม่ใช่ใคร ในรูปประโยคที่จะพูดกับเขาไม่ต้องมีคนอื่นเข้ามาเกี่ยว ไม่ต้องเปรียบเปรยไปไหนไกล บอกเขาว่าพ่อต้องการให้ลูกแบ่งของเล่นให้ใครก็ว่าไป วิธีการคือแสดงให้เขาดูว่าทำอย่างไร ให้เพื่อนแตะของเล่นเป็นอย่างไร ให้เพื่อนถือของเล่นครู่หนึ่งเป็นอย่างไร นั่งลงเล่นด้วยกันเป็นอย่างไร


ลูกอายุสามขวบเท่านั้น หากว่ากันตามตำราสามขวบสำหรับเด็กบางคนอย่าว่าแต่ฟังคำเปรียบเทียบเปรียบ เปรยไม่เป็นเลย ของเล่นมีจริงหรือเปล่ายังอาจจะเป็นปัญหาอยู่ โดยทั่วไปพัฒนาการที่ทำให้เด็กคนหนึ่งรับรู้ว่าวัตถุใดๆ มีอยู่จริงจะเกิดขึ้นระหว่างอายุหกเดือนถึงสามปี เรียกว่า object constancy เด็กที่พัฒนาเร็ว จะมั่นใจมากว่าของเล่นเปลี่ยนมือไม่สูญหาย (vanish) ก็อาจจะไม่กังวลอะไรที่ของเล่นจะเปลี่ยนมือเพราะอย่างไรก็ไม่สูญหายไปไหน

ส่วนเด็กที่พัฒนาการเรื่องนี้ช้าหน่อยอาจจะกังวลมากกว่า มองอีกแง่หนึ่งเด็กที่เราคิดว่าใจดีเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ยื่นของเล่นให้เพื่อน หน้าตาเฉยอาจจะเป็นเพราะเขาพัฒนาช้ามากจนไม่รับรู้ว่าในมือเขาเป็นของเล่น ด้วยซ้ำ ไม่มีอะไรเกี่ยวกับมีหรือไม่มีน้ำใจแม้แต่น้อย ต้น แบบของการรับรู้ว่าวัตถุ หรือของเล่นมีอยู่จริงไม่สูญหายคือความสามารถที่จะรับรู้ว่าคุณแม่มีอยู่ จริงๆ นั่นหมายความว่าคุณแม่ต้องเลี้ยงดูลูกอย่างใกล้ชิดในสามขวบปีแรก หากคุณแม่มีอยู่ในโลกใบนี้จริงๆ แล้ว ของเล่นจะมีจริงด้วย และสามารถยื่นให้ใครไปก็ได้โดยไม่สูญหาย

แหล่งข้อมูลที่มา   www.real-parent.com 


No comments:

Post a Comment