Wednesday, May 1, 2013

เล่นสนุกตามวัย = ร่างกาย สมองสมบูรณ์




     ถ้าเจ้าตัวเล็กของเรามีโอกาสเล่นและได้รับประสบการณ์ซ้ำๆ และเหมาะกับอายุของเขา เหมาะกับความสนใจมาตั้งแต่เด็กแล้วล่ะก็ จะช่วยกระตุ้นประสาทสัมผัสของลูกในการรับข้อมูล-ส่งผ่านข้อมูล จะมีการสร้างเส้นใยประสาท จุดเชื่อมต่อเส้นใยประสาท และการสร้างไขมันห่อหุ้มเส้นใยประสาทให้ทั้งมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นและมีการ เชื่อมโยงกันได้มากขึ้นด้วยค่ะนอกจากนี้ยังกระตุ้นการทำงาน ของเครือข่ายเส้นใยประสาท และกลุ่มเซลล์ประสาทต่างๆ ที่มีอยู่แล้วให้ไม่ถูกทำลายไปด้วยนะคะ ทำให้กลไกการทำงานในส่วนต่างๆ ของร่างกายเติบโตและพัฒนาได้อย่างเต็มที่ที่สุดค่ะ

    ที่ว่ามาทั้งหมดนี้นะคะ จะทำให้ลูกเป็นเด็กที่มีความสามารถในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้ดีเวลาที่เขา โตขึ้น และในทางตรงกันข้าม ถ้าเจ้าตัวเล็กเป็นเด็กที่ไม่ค่อยเล่นหรือไม่มีใครเล่นด้วยแล้วล่ะก็ เขาจะกลายเป็นเด็กที่สูญเสียความสามารถในการพัฒนาตัวเองและการเรียนรู้สิ่ง ต่างๆ ไปอย่าง น่าเสียดายมากๆ เป็นเพราะไม่ได้รับการกระตุ้นในการสร้างเส้นใยประสาทและเครือข่ายเส้นใย ประสาทที่ทำหน้าที่ให้เกิดความสามารถในด้านนั้นๆ อย่างสมบูรณ์มาตั้งแต่เด็กนั่นเอง 

     มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งพบกว่า ทุกครั้งที่เด็กๆ ได้เล่นผ่านการได้ยิน มองเห็น แตะต้องสัมผัส ลิ้มรส หรือได้กลิ่นเวลานั้นร่างกายจะมีการส่งสัญญาณไปที่สมอง และเซลล์สมองก็จะมีการเชื่อมโยงเส้นใยประสาทเกิดขึ้นมากกว่าเดิมถึง 25 เปอร์เซ็นต์ แปลว่าถ้าเจ้าตัวเล็กได้เล่นที่มีความหลาก หลายมากแค่ไหน การเชื่อมโยงของเซลล์สมองก็จะมีมากขึ้นเท่านั้นด้วยค่ะ และถ้าลูกได้ทำ อะไรซ้ำๆ บ่อยๆ การเชื่อมโยงก็จะยิ่งแข็งแรงขึ้นมาก ซึ่งก็เป็นคำตอบของคำถามที่ว่า ทำไมสิ่ง แปลกๆ ใหม่ๆ ถึงสามารถทำให้เด็กๆ สนใจได้ดี และทำไมเด็กๆ ถึงชอบทำอะไรซ้ำๆ บ่อยๆ อยู่อย่างนั้นนั่นเอง 

     นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยอีกหนึ่งชิ้นนะคะ พบว่าเด็กที่ไม่ค่อยได้เล่น สมองจะมีขนาดเล็กกว่าเด็กทั่วไป 20-30 เปอร์เซ็นต์เชียวนะคะ และอาจจะทำให้เด็กที่ ขาดการเล่นจะกลายเป็นเด็ก หงอยเหงา ไม่ค่อยร่าเริงเท่าที่ควร ร่างกายไม่ค่อยแข็งแรง เข้ากลุ่มเล่นกับเพื่อนไม่เป็น ขาด ทักษะความสามารถด้านต่างๆไม่มีความมั่นใจในตัวเอง กลายเป็นเด็กขี้อายไปเลยค่ะ เพราะ ฉะนั้นถ้าเราไม่อยากให้ลูกเราเป็นแบบนี้ก็ต้องให้เจ้าตัวเล็กของเราเล่น อย่างเพียงพอและเหมาะ สมกับวัยของเขาด้วยค่ะ

แหล่งข้อมูลที่มา  http://www.enfababy.com

No comments:

Post a Comment