สมาธิ คือ จุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ ช่วยให้ลูกรับข้อมูลไปใช้ในการพัฒนาสมองได้ดี
แต่ถ้าเมื่อใดที่ขาดสมาธิลูกก็จะกลายเป็นเด็กขี้ลืม ไม่อดทน ซนเกินเหตุ ไม่รู้จักสังเกตไม่รอบคอบ
ไม่ตั้งใจฟัง ไม่มีมารยาท แถมยังล้มเหลวได้ง่าย ไร้วินัย และไม่มีเพื่อน
ถ้าไม่อยากให้ลูกมีพฤติกรรมแบบนี้ มาส่งเสริมสมาธิกับ A-Z กันนะคะ
Activites : กิจกรรม
เด็กทุกคนมักสนใจสิ่งรอบข้างง่ายอยู่แล้วโดยธรรมชาติ การสร้างสมาธิจึงไม่ใช่เรื่องยาก เพียงหาสิ่งเร้าที่เด็กสนใจ เช่น กิจกรรม ซึ่งจะช่วยให้เด็กเกิดความสนใจจดจ่อได้นานพอ เช่น ศิลปะ พับกระดาษ ปั้นแป้ง ฯลฯ
Book : หนังสือ
นิทานหรือหนังสือเด็ก คือ เครื่องมือสำคัญที่ช่วยสร้างสมาธิให้ลูกได้เต็มที่ เมื่ออ่านให้ฟังจบ ควรสร้างความสนใจจดจ่อให้สมาธิลูกยาวขึ้น โดยถามถึงเรื่องราวที่อ่านให้ลูกฟัง เพื่อให้ลูกได้แสดงความคิดเห็นโต้ตอบ
Clean : ทำความสะอาด
การให้ลูกทำงานบ้านเล็ก ๆ น้อย ๆ จะช่วยสร้างสมาธิให้ลูกจดจ่ออยู่กับการทำความสะอาดได้ เช่น กวาด ถูบ้าน ตากผ้า เช็ดโต๊ะ โดยไม่ลืมให้คำชมเพิ่มกำลังใจให้ลูกรู้สึกอยากทำ และมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งต่าง ๆ นานขึ้น
Dough : ปั้นแป้งโดว์
การให้ลูกปั้นแป้งเล่นอย่างอิสระ นอกจากจะได้ฝึกกล้ามเนื้อมือให้แข็งแรง มีผลทำให้ลูกมีพัฒนาการที่ดีในการเขียนหนังสือแล้ว ยังช่วยสร้างจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ และสมาธิความสนใจจดจ่อให้ลูกได้ดีด้วย
Example : แบบอย่าง
พ่อแม่ควรเป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้สมาธิจดจ่ออยู่กับการทำงาน ทำกิจกรรม ทำสิ่งต่าง ๆ จนลุล่วงไปได้ด้วยดี โดยทำให้ลูกเห็นอย่างสม่ำเสมอ สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ลูกเลียนแบบซึมซับและรับเอาเป็นแบบอย่างได้ในอนาคต
Forest : ป่าไม้
ป่าไม้ คือ แหล่งเรียนรู้ที่ยิ่งใหญ่ เพราะมีสิ่งดึงดูดใจให้เด็กอยากรู้อยากเห็น อยากสำรวจเรียนรู้ได้อย่างมีสมาธิทั้งพืชพันธุ์ ดอกไม้ ผีเสื้อ แมลง และสัตว์ป่าหลากชนิด มีโอกาสเมื่อใดอย่าลืมชวนลูกไปแคมปิ้งในป่านะคะ
Game : เกม
เด็กมักชอบเล่นเกมคอมพิวเตอร์ วิดีโอเกม จนทำให้ติดเกมกลายเป็นสมาธิสั้นได้ง่าย ส่งผลถึงปัญหาการเรียน ดังนั้นอย่าปล่อยให้ลูกเล่นเกมมาก ถ้าห้ามไม่ได้ควรตั้งกฎกติกากำหนดเวลาเล่นให้ลูกรับรู้ได้ปฏิบัติตามด้วย
Homework : การบ้าน
การบ้าน จะช่วยให้ลูกมีสมาธิจดจ่อได้ แต่จะทำการบ้านได้ดี มีคุณภาพ จะต้องให้ลูกทำการบ้านในห้องที่เงียบสงบ โดยปิดทีวี หรือไม่ให้มีสิ่งใดมาดึงความสนใจลูก ถ้าลูกทำการบ้านไม่ได้ไม่เข้าใจ ควรเข้ามาสอนลูก
Imagine : จินตนาการ
จินตนาการ เป็นตัวช่วยสำคัญในการสร้างสรรค์ผลงานใหม่ ๆ ทำให้เด็กเกิดสมาธิต่อยอดไปสู่การเรียนรู้ จึงควรส่งเสริมจินตนาการ ด้วยการเล่านิทาน เล่นบทบาทสมมติกับลูก พูดคุยถามไถ่แบบปลายเปิดให้ลูกตอบอิสระ
Jigsaw : ต่อภาพจิ๊กซอว์
การต่อจิ๊กซอว์เป็นการฝึกสมาธิที่ทำให้เด็กจดจ่ออยู่กับภาพแต่ละชิ้น เพื่อหาที่ลงให้ได้ ทั้งยังฝึกสังเกต ฝึกความอดทน เมื่อต่อสำเร็จเด็กจะภูมิใจ จึงควรให้ลูกได้เล่นต่อจิ๊กซอว์โดยเริ่มจากภาพที่ลูกโปรดปรานได้เลย
Kick out : เตะออก
การเตะบอล เป็นกีฬาที่เด็กชอบเล่นเพราะได้ใช้ทั้งกล้ามเนื้อขา สายตา และสมาธิจดจ่ออยู่กับลูกฟุตบอลที่กลิ้งเข้ามาหา แล้วพยายามใช้เท้าเตะออก ถ้ามีโอกาสชวนลูกเล่นเตะฟุตบอล โดยโยนบอลให้ลูกหัดเตะกันเลย
Library : ห้องสมุด
ห้องสมุด คือ แหล่งรวมความรู้อันยิ่งใหญ่ที่ควรชวนลูกไปอ่านหนังสือ เป็นสถนที่ที่เงียบสงบที่สร้างสมาธิให้กับเด็กได้เป็นอย่างดี ทำให้เด็กรู้จักนิสัยค้นคว้าหาความรู้ รู้จักหนังสือดี ๆ เพื่อให้เด็กติดนิสัยรักการอ่าน
Music : ดนตรี
หาดนตรีช้า ๆ เพลงช้า ๆ ให้ลูกฟัง เพื่อช่วยให้ลูกเกิดสมาธิ การเปิดเพลงเบา ๆ จะเพิ่มความสามารถในการจดจำและเรียนรู้ได้ดี สมองทำงานได้ดี ช่วยจัดลำดับความคิดในสมอง ลูกจะรู้สึกผ่อนคลาย เปิดรับการเรียนรู้ได้ดี
Number : นับเลข
ฝึกนับเลข 1-10 เพิ่มสมาธิ หรือสอนให้รู้จักจำนวนสอนเขียนเลขโดยไม่จับดินสอ แต่ใช้นิ้วลากไปตามตัวเลข หรือให้หยิบกระดุมแล้วลูกทายกี่เม็ด ถ้าตอบถูกให้เก็บแล้วหยิบใหม่ ถ้าตอบผิดให้บอกจำนวนที่ถูกต้อง
Opportunity : โอกาส
เปิดโอกาสให้ลูกได้เล่น สำรวจ ทำสิ่งต่าง ๆ ที่สนใจ ทำให้ลูกได้ใช้สมาธิในการสังเกต ทดลอง ทดสอบ ใช้ความคิด ตัดสินใจจัดการกับสิ่งที่ทำ รู้จักเชื่อมโยงกับสิ่งรอบตัว หรือชวนลูกไปฟังเสียงต่าง ๆ นอกบ้าน เป็นต้น
Play : เล่น
หาของเล่นเสริมสมาธิให้ลูกมีความคิดจินตนาการ เช่น บล็อกไม้ หากระดาษ ดินสอ สีเทียนให้ลูกวาดรูประบายสี แล้วถ้าจะให้ของเล่นลูกควรให้ทีละชิ้น ไม่ควรให้หลายชิ้น เพราะจะทำให้ลูกไม่มีสมาธิกับของเล่น
Quiet : เงียบ
จัดมุมสงบในบ้านให้ลูกได้เล่น ได้อ่านนิทานให้ลูกฟัง หรือได้ทำกิจกรรมต่าง ๆ โดยไม่มีเสียงดังรบกวนอยู่ใกล้ ๆ จนลูกต้องเสียสมาธิ พร้อมหลีกเลี่ยงสิ่งเร้ารอบตัวไม่ให้ลูกวอกแวกกับสิ่งอื่น เพื่อให้มีสมาธิมากที่สุด
Rules : กฎระเบียบ
จัดระเบียบเวลาในบ้านให้ลูกรับรู้เป็นระบบ เช่น เวลาตื่นนอน เวลากิน เวลาเล่น เวลาทำการบ้าน เวลาดูทีวีกับพ่อแม่ เวลาเล่นเกมถ้าลูกอยากเล่นจริง ๆ เวลาเข้านอน โดยเขียนกำหนดเวลาเหล่านี้ไว้บนกระดาษให้ลูกเห็น
Sleep : นอนหลับ
นอนหลับสนิท คือ การนอนที่มีคุณภาพ และเพียงพอ ซึ่งมีความสำคัญต่อพัฒนาการ พ่อแม่ควรส่งเสริมให้ลูกเข้านอนแต่หัวค่ำ เพื่อช่วยให้ลูกแจ่มใส อารมณ์ดี มีสมาธิในการเรียนรู้ สมองจดจำดี ความคิดสร้างสรรค์
Television : โทรทัศน์
ไม่ควรให้ลูกนั่งดูทีวี เล่นเกมคอมพิวเตอร์คนเดียวนาน แม้ลูกจ้องอยู่หน้าจอได้นานก็จริงจนทำให้เข้าใจผิดคิดว่าลูกมีสมาธิดี แต่ความจริงแล้วไม่ใช่ เพราะเหล่านี้เป็นสื่อที่เปลี่ยนเร็วทั้งภาพและเสียง ทำให้ลูกสมาธิสั้น
Underline : ขีดเส้นใต้
การขีดเส้นใต้ คือ การเน้นข้อความสำคัญให้เด่นชัดขึ้น เด็ก ๆ มักใช้ในหนังสือ หรือในสมุดโน้ตที่ได้จดบันทึกการเรียนการสอน ซึ่งการให้ลูกขีดเส้นใต้ข้อความสำคัญ จะช่วยย้ำเตือนให้สมองจดจำได้อย่างมีสมาธิขึ้น
Vision : การมองเห็น
การมองเห็น คือ หนึ่งในประสาทสัมผัสทั้ง 5 ที่มีความสำคัญต่อเด็ก ช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้จากสิ่งที่เห็น หรือเวลาพูดคุยก็ให้สบตาลูก เพื่อฝึกให้ลูกรู้จักสบตากับผู้อื่น และเกิดสมาธิสนใจผู้ที่มาพูดคุยกับลูกไปด้วย
Whisper : กระซิบ
การกระซิบจะช่วยเพิ่มสมาธิให้ลูกได้ดี ลูกจะเกิดความรู้สึกตั้งใจฟังในเสียงที่ได้ยินเบา ๆ ข้าง ๆ หู ลูกรู้สึกตื่นเต้น ดังนั้นมาเล่นเกมกระซิบบอกต่อ ๆ กันจากหัวแถวมาหางแถวดูสิว่าลูกจะจดจำข้อความได้มากน้อยแค่ไหน
Xylophone : เครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง
ควรให้ลูกเล่นเครื่องดนตรีชนิดใดก็ได้ เช่น กลอง ลูกแซก หรือ Xylophone เพราลูกจะเรียนรู้จากการเล่น การเข้าไปเกี่ยวข้อง สัมผัส ทดลองจนรู้เหตุผล เมื่อทำซ้ำ ๆ ลูกก็จะเกิดสมาธิ เกิดความจำ และเรียนรู้ที่ดีด้วย
Yellow : สีเหลือง
สีเหลือง เป็นหนึ่งในอีกบรรดาสีหลายสี ที่นำมาดึงดูดความสนใจให้ลูกเกิดสมาธิได้ โดยชวนลูกเล่นเกมแยกแยะวัตถุต่าง ๆ ตามสีเดียวกัน ต่อบล็อกตามสี หรือเล่นเกมทายสีบอกสี เพื่อฝึกให้ลูกรู้จักสีต่าง ๆ ให้มากขึ้น ฯลฯ
Zone : แบ่งเป็นเขต, ส่วน
การแบ่งเขตเป็นสัดเป็นส่วน เช่น การจัดมุมอ่านหนังสือโดยเฉพาะให้ลูก หรือการจัดมุมเล่นของเล่นให้ลูกได้เล่นแล้วรู้จักเก็บ จะช่วยให้ลูกมีโลกส่วนตัวเป็นของตัวเอง และมีสมาธิที่จะทำสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างอิสระขึ้น
Activites : กิจกรรม
เด็กทุกคนมักสนใจสิ่งรอบข้างง่ายอยู่แล้วโดยธรรมชาติ การสร้างสมาธิจึงไม่ใช่เรื่องยาก เพียงหาสิ่งเร้าที่เด็กสนใจ เช่น กิจกรรม ซึ่งจะช่วยให้เด็กเกิดความสนใจจดจ่อได้นานพอ เช่น ศิลปะ พับกระดาษ ปั้นแป้ง ฯลฯ
Book : หนังสือ
นิทานหรือหนังสือเด็ก คือ เครื่องมือสำคัญที่ช่วยสร้างสมาธิให้ลูกได้เต็มที่ เมื่ออ่านให้ฟังจบ ควรสร้างความสนใจจดจ่อให้สมาธิลูกยาวขึ้น โดยถามถึงเรื่องราวที่อ่านให้ลูกฟัง เพื่อให้ลูกได้แสดงความคิดเห็นโต้ตอบ
Clean : ทำความสะอาด
การให้ลูกทำงานบ้านเล็ก ๆ น้อย ๆ จะช่วยสร้างสมาธิให้ลูกจดจ่ออยู่กับการทำความสะอาดได้ เช่น กวาด ถูบ้าน ตากผ้า เช็ดโต๊ะ โดยไม่ลืมให้คำชมเพิ่มกำลังใจให้ลูกรู้สึกอยากทำ และมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งต่าง ๆ นานขึ้น
Dough : ปั้นแป้งโดว์
การให้ลูกปั้นแป้งเล่นอย่างอิสระ นอกจากจะได้ฝึกกล้ามเนื้อมือให้แข็งแรง มีผลทำให้ลูกมีพัฒนาการที่ดีในการเขียนหนังสือแล้ว ยังช่วยสร้างจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ และสมาธิความสนใจจดจ่อให้ลูกได้ดีด้วย
Example : แบบอย่าง
พ่อแม่ควรเป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้สมาธิจดจ่ออยู่กับการทำงาน ทำกิจกรรม ทำสิ่งต่าง ๆ จนลุล่วงไปได้ด้วยดี โดยทำให้ลูกเห็นอย่างสม่ำเสมอ สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ลูกเลียนแบบซึมซับและรับเอาเป็นแบบอย่างได้ในอนาคต
Forest : ป่าไม้
ป่าไม้ คือ แหล่งเรียนรู้ที่ยิ่งใหญ่ เพราะมีสิ่งดึงดูดใจให้เด็กอยากรู้อยากเห็น อยากสำรวจเรียนรู้ได้อย่างมีสมาธิทั้งพืชพันธุ์ ดอกไม้ ผีเสื้อ แมลง และสัตว์ป่าหลากชนิด มีโอกาสเมื่อใดอย่าลืมชวนลูกไปแคมปิ้งในป่านะคะ
Game : เกม
เด็กมักชอบเล่นเกมคอมพิวเตอร์ วิดีโอเกม จนทำให้ติดเกมกลายเป็นสมาธิสั้นได้ง่าย ส่งผลถึงปัญหาการเรียน ดังนั้นอย่าปล่อยให้ลูกเล่นเกมมาก ถ้าห้ามไม่ได้ควรตั้งกฎกติกากำหนดเวลาเล่นให้ลูกรับรู้ได้ปฏิบัติตามด้วย
Homework : การบ้าน
การบ้าน จะช่วยให้ลูกมีสมาธิจดจ่อได้ แต่จะทำการบ้านได้ดี มีคุณภาพ จะต้องให้ลูกทำการบ้านในห้องที่เงียบสงบ โดยปิดทีวี หรือไม่ให้มีสิ่งใดมาดึงความสนใจลูก ถ้าลูกทำการบ้านไม่ได้ไม่เข้าใจ ควรเข้ามาสอนลูก
Imagine : จินตนาการ
จินตนาการ เป็นตัวช่วยสำคัญในการสร้างสรรค์ผลงานใหม่ ๆ ทำให้เด็กเกิดสมาธิต่อยอดไปสู่การเรียนรู้ จึงควรส่งเสริมจินตนาการ ด้วยการเล่านิทาน เล่นบทบาทสมมติกับลูก พูดคุยถามไถ่แบบปลายเปิดให้ลูกตอบอิสระ
Jigsaw : ต่อภาพจิ๊กซอว์
การต่อจิ๊กซอว์เป็นการฝึกสมาธิที่ทำให้เด็กจดจ่ออยู่กับภาพแต่ละชิ้น เพื่อหาที่ลงให้ได้ ทั้งยังฝึกสังเกต ฝึกความอดทน เมื่อต่อสำเร็จเด็กจะภูมิใจ จึงควรให้ลูกได้เล่นต่อจิ๊กซอว์โดยเริ่มจากภาพที่ลูกโปรดปรานได้เลย
Kick out : เตะออก
การเตะบอล เป็นกีฬาที่เด็กชอบเล่นเพราะได้ใช้ทั้งกล้ามเนื้อขา สายตา และสมาธิจดจ่ออยู่กับลูกฟุตบอลที่กลิ้งเข้ามาหา แล้วพยายามใช้เท้าเตะออก ถ้ามีโอกาสชวนลูกเล่นเตะฟุตบอล โดยโยนบอลให้ลูกหัดเตะกันเลย
Library : ห้องสมุด
ห้องสมุด คือ แหล่งรวมความรู้อันยิ่งใหญ่ที่ควรชวนลูกไปอ่านหนังสือ เป็นสถนที่ที่เงียบสงบที่สร้างสมาธิให้กับเด็กได้เป็นอย่างดี ทำให้เด็กรู้จักนิสัยค้นคว้าหาความรู้ รู้จักหนังสือดี ๆ เพื่อให้เด็กติดนิสัยรักการอ่าน
Music : ดนตรี
หาดนตรีช้า ๆ เพลงช้า ๆ ให้ลูกฟัง เพื่อช่วยให้ลูกเกิดสมาธิ การเปิดเพลงเบา ๆ จะเพิ่มความสามารถในการจดจำและเรียนรู้ได้ดี สมองทำงานได้ดี ช่วยจัดลำดับความคิดในสมอง ลูกจะรู้สึกผ่อนคลาย เปิดรับการเรียนรู้ได้ดี
Number : นับเลข
ฝึกนับเลข 1-10 เพิ่มสมาธิ หรือสอนให้รู้จักจำนวนสอนเขียนเลขโดยไม่จับดินสอ แต่ใช้นิ้วลากไปตามตัวเลข หรือให้หยิบกระดุมแล้วลูกทายกี่เม็ด ถ้าตอบถูกให้เก็บแล้วหยิบใหม่ ถ้าตอบผิดให้บอกจำนวนที่ถูกต้อง
Opportunity : โอกาส
เปิดโอกาสให้ลูกได้เล่น สำรวจ ทำสิ่งต่าง ๆ ที่สนใจ ทำให้ลูกได้ใช้สมาธิในการสังเกต ทดลอง ทดสอบ ใช้ความคิด ตัดสินใจจัดการกับสิ่งที่ทำ รู้จักเชื่อมโยงกับสิ่งรอบตัว หรือชวนลูกไปฟังเสียงต่าง ๆ นอกบ้าน เป็นต้น
Play : เล่น
หาของเล่นเสริมสมาธิให้ลูกมีความคิดจินตนาการ เช่น บล็อกไม้ หากระดาษ ดินสอ สีเทียนให้ลูกวาดรูประบายสี แล้วถ้าจะให้ของเล่นลูกควรให้ทีละชิ้น ไม่ควรให้หลายชิ้น เพราะจะทำให้ลูกไม่มีสมาธิกับของเล่น
Quiet : เงียบ
จัดมุมสงบในบ้านให้ลูกได้เล่น ได้อ่านนิทานให้ลูกฟัง หรือได้ทำกิจกรรมต่าง ๆ โดยไม่มีเสียงดังรบกวนอยู่ใกล้ ๆ จนลูกต้องเสียสมาธิ พร้อมหลีกเลี่ยงสิ่งเร้ารอบตัวไม่ให้ลูกวอกแวกกับสิ่งอื่น เพื่อให้มีสมาธิมากที่สุด
Rules : กฎระเบียบ
จัดระเบียบเวลาในบ้านให้ลูกรับรู้เป็นระบบ เช่น เวลาตื่นนอน เวลากิน เวลาเล่น เวลาทำการบ้าน เวลาดูทีวีกับพ่อแม่ เวลาเล่นเกมถ้าลูกอยากเล่นจริง ๆ เวลาเข้านอน โดยเขียนกำหนดเวลาเหล่านี้ไว้บนกระดาษให้ลูกเห็น
Sleep : นอนหลับ
นอนหลับสนิท คือ การนอนที่มีคุณภาพ และเพียงพอ ซึ่งมีความสำคัญต่อพัฒนาการ พ่อแม่ควรส่งเสริมให้ลูกเข้านอนแต่หัวค่ำ เพื่อช่วยให้ลูกแจ่มใส อารมณ์ดี มีสมาธิในการเรียนรู้ สมองจดจำดี ความคิดสร้างสรรค์
Television : โทรทัศน์
ไม่ควรให้ลูกนั่งดูทีวี เล่นเกมคอมพิวเตอร์คนเดียวนาน แม้ลูกจ้องอยู่หน้าจอได้นานก็จริงจนทำให้เข้าใจผิดคิดว่าลูกมีสมาธิดี แต่ความจริงแล้วไม่ใช่ เพราะเหล่านี้เป็นสื่อที่เปลี่ยนเร็วทั้งภาพและเสียง ทำให้ลูกสมาธิสั้น
Underline : ขีดเส้นใต้
การขีดเส้นใต้ คือ การเน้นข้อความสำคัญให้เด่นชัดขึ้น เด็ก ๆ มักใช้ในหนังสือ หรือในสมุดโน้ตที่ได้จดบันทึกการเรียนการสอน ซึ่งการให้ลูกขีดเส้นใต้ข้อความสำคัญ จะช่วยย้ำเตือนให้สมองจดจำได้อย่างมีสมาธิขึ้น
Vision : การมองเห็น
การมองเห็น คือ หนึ่งในประสาทสัมผัสทั้ง 5 ที่มีความสำคัญต่อเด็ก ช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้จากสิ่งที่เห็น หรือเวลาพูดคุยก็ให้สบตาลูก เพื่อฝึกให้ลูกรู้จักสบตากับผู้อื่น และเกิดสมาธิสนใจผู้ที่มาพูดคุยกับลูกไปด้วย
Whisper : กระซิบ
การกระซิบจะช่วยเพิ่มสมาธิให้ลูกได้ดี ลูกจะเกิดความรู้สึกตั้งใจฟังในเสียงที่ได้ยินเบา ๆ ข้าง ๆ หู ลูกรู้สึกตื่นเต้น ดังนั้นมาเล่นเกมกระซิบบอกต่อ ๆ กันจากหัวแถวมาหางแถวดูสิว่าลูกจะจดจำข้อความได้มากน้อยแค่ไหน
Xylophone : เครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง
ควรให้ลูกเล่นเครื่องดนตรีชนิดใดก็ได้ เช่น กลอง ลูกแซก หรือ Xylophone เพราลูกจะเรียนรู้จากการเล่น การเข้าไปเกี่ยวข้อง สัมผัส ทดลองจนรู้เหตุผล เมื่อทำซ้ำ ๆ ลูกก็จะเกิดสมาธิ เกิดความจำ และเรียนรู้ที่ดีด้วย
Yellow : สีเหลือง
สีเหลือง เป็นหนึ่งในอีกบรรดาสีหลายสี ที่นำมาดึงดูดความสนใจให้ลูกเกิดสมาธิได้ โดยชวนลูกเล่นเกมแยกแยะวัตถุต่าง ๆ ตามสีเดียวกัน ต่อบล็อกตามสี หรือเล่นเกมทายสีบอกสี เพื่อฝึกให้ลูกรู้จักสีต่าง ๆ ให้มากขึ้น ฯลฯ
Zone : แบ่งเป็นเขต, ส่วน
การแบ่งเขตเป็นสัดเป็นส่วน เช่น การจัดมุมอ่านหนังสือโดยเฉพาะให้ลูก หรือการจัดมุมเล่นของเล่นให้ลูกได้เล่นแล้วรู้จักเก็บ จะช่วยให้ลูกมีโลกส่วนตัวเป็นของตัวเอง และมีสมาธิที่จะทำสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างอิสระขึ้น
ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต
No comments:
Post a Comment